เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » ด่วน!ปฏิรูปการพัฒนาครูครบวงจร การพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ

ด่วน!ปฏิรูปการพัฒนาครูครบวงจร การพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 28 ก.พ. 2560 16:18:31 น. เข้าชม 166416 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ด่วน!ปฏิรูปการพัฒนาครูครบวงจร การพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ด่วน!ปฏิรูปการพัฒนาครูครบวงจร การพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ
ด่วน!ปฏิรูปการพัฒนาครูครบวงจร การพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ

เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ได้เผยแพร่ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 101/2560 เรื่อง รัฐมนตรีมอบนโยบาย ผอ.สพท.ทั่วประเทศ ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการอบรมพัฒนาตามความต้องการเพื่อเชื่อมโยงกับการประเมินวิทยฐานะ ที่น่าสนใจ ดังนี้

ประเด็นการอบรมพัฒนาตามความต้องการเพื่อเชื่อมโยงกับการประเมินวิทยฐานะ

- นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีการดำเนินนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับครูในเวลานี้ คือ "การพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ" ซึ่งแนวดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะของครู ก็เป็นการน้อมนำตามพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ไม่ต้องการให้ครูเลื่อนวิทยฐานะจากการจัดทำเอกสารผลงานทางวิชาการ หรือเอกสารในรูปแบบวิทยานิพนธ์ โดยหลักเกณฑ์ใหม่จะยกเลิกการจัดทำผลงานทางวิชาการ รวมทั้งเกณฑ์ PA ด้วย เพราะที่ผ่านมาเราไปตีความเอาเองว่าครูต้องทำผลงานทางวิชาการในลักษณะนี้ ส่วนการยกเลิกเกณฑ์ PA นักวิชาการเห็นด้วยว่าคนเก่งอาจจะไม่มี Performance มากก็ได้ เช่นเดียวกับผู้ที่ทำงานในสาขาอาชีพอื่น เช่น แพทย์เก่ง ๆ แต่ไม่ยอมผ่าตัด หรือครูเก่ง ๆ แต่ไม่ยอมสอนหนังสือ ก็ถือว่าไม่มีผลงาน เพราะฉะนั้นเราจึงยกเลิกผลงานเชิงประจักษ์ แต่จะให้ความสำคัญกับ "ระยะเวลา" ในการทำงานสั่งสมความชำนาญการในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เพื่อจะเลื่อนวิทยฐานะขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น เหมือนกับนักบินที่ต้องมีการสั่งสมชั่วโมงบิน

หลักการให้วิทยฐานะที่สูงขึ้น จึงเป็นเรื่องของความเก่ง และระยะเวลาที่สั่งสม เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์จะสอนเก่งขึ้นตามช่วงเวลา ดังนั้น ในการประเมินวิทยฐานะจึงจะกำหนดทั้ง "ระยะเวลาการสอน" และ "การอบรมพัฒนาด้วยตนเอง" ให้มีความเชื่อมโยงกัน โดยครูผู้ช่วยจะทำงาน 2 ปี ก่อนที่จะก้าวเป็นชำนาญการ จากนั้นจะใช้เวลา 5 ปีเพื่อขอเลื่อนเป็นชำนาญการพิเศษ และหากจะขอเลื่อนไปในระดับเชี่ยวชาญจะต้องรออีก 5 ปี จากนั้นหากจะไปจนถึงระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องรออีก 5 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ใช้เวลาไม่นานในการที่จะก้าวจากชำนาญการ-เชี่ยวชาญพิเศษ โดยใช้เวลาเพียง 20 ปีเท่านั้น ก็มีสิทธิ์ได้รับวิทยฐานะระดับสูงสุดเช่นเดียวกับศาสตราจารย์ และการประเมินวิทยฐานะไม่ต้องมีวิธี Fast Track ใด ๆ เพียงแต่ครูทุกคนจะมี e-Portfolio ล็อกเข้าระบบด้วยตนเองว่าต้องสอนกี่ชั่วโมงตามเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้รับรอง (Sign Off) แต่หากระบบสุ่มเจอว่ามีการโกหกในการกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ ครูรายนั้นจะถูกลดไปเริ่มต้นวิทยฐานะใหม่ และครู-ผู้บริหารก็จะถูกแจ้งความอันเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช.ด้วย ดังนั้น จึงไม่กังวลระบบการตรวจสอบมากมายและใช้คนมาประเมินเป็นการสิ้นเปลืองระยะเวลาและงบประมาณ

สำหรับชั่วโมงสอนของครู หากเป็นครูชำนาญการอาจจะต้องสอนขั้นต่ำ 800 ชั่วโมงต่อปี เพราะฉะนั้นเมื่อครูชำนาญการสอนครบ 5 ปี ก็จะมีจำนวนชั่วโมงสอนเป็น 4,000 ชั่วโมง และเมื่อเป็นครูชำนาญการพิเศษก็จะสะสมชั่วโมงสอนได้ 8,000 ชั่วโมง ระบบนี้จะทำให้กระทรวงศึกษาธิการทราบข้อมูลล่วงหน้าด้วยว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนครูที่จะได้เลื่อนวิทยฐานะเท่าใด เพื่อวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ส่วนการประเมินสำหรับสายผู้บริหารหรือผู้อำนวยการ (Director) ต่อไปจะไม่มีนักบริหารวิทยฐานะชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญ-เชี่ยวชาญพิเศษอีกแล้ว แต่จะเปลี่ยนวิธีการตอบแทนให้เป็นการจ่ายค่าตอบแทนแบบอำนวยการหรืออำนวยการสูง ซึ่งเป็นคนละเส้นทางกับวิทยฐานะครู เพราะงานบริหารควรจ่ายค่าตอบแทนแบบนักบริหาร

นอกจากระยะเวลาการสอนแล้ว ระบบการปฏิรูปพัฒนาครูครบวงจรแบบใหม่นี้ จะให้ครูได้รับการอบรมพัฒนาตามความต้องการของตนเอง หรือครูสามารถ Shopping หลักสูตรการอบรมด้วยตนเองตามความเหมาะสมในการเลื่อนวิทยฐานะของตนเอง โดยจะผ่านการรับรองของสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเป็นหลักในการดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะแจกเป็นคูปองพัฒนาครูให้รายละ 10,000 บาทต่อปี เพื่อนำไปใช้จ่ายเป็นค่าอบรมพัฒนา รวมทั้งค่าเดินทางต่าง ๆ ด้วยตนเอง

วิธีการเช่นนี้จะทำให้กระจายลงไปในระดับพื้นที่ และจะมีเงินเหลือนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนทุกระดับ โดยเฉพาะโรงเรียน ICU ได้เป็นจำนวนมาก และหากมีเงินเหลือมากขึ้น ปีต่อไปอาจจะเพิ่มคูปองพัฒนาครูมากกว่า 10,000 บาท แต่จะไม่มีระบบการ Transfer โควตาอบรมของตนเองไปให้ครูคนอื่น

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นระบบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศในการ "ปฏิรูปการพัฒนาครูครบวงจร" อย่างแท้จริง

 

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวกับ Active Learning สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 101/2560


 

หมายเหตุ - การประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2560 วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค มีผู้บริหารระดับสูงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมรับฟังและประชุมสัมมนาครั้งนี้จำนวน 327 คน โดยนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมาเป็นประธานและมอบนโยบายในครั้งนี้ 

บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
28/2/2560



ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook