โพสต์โดย : Admin เมื่อ 24 เม.ย. 2560 13:32:08 น. เข้าชม 166365 ครั้ง
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อยกร่างหลักเกณ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเฉพาะ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จากเดิมที่จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยตนได้สั่งการให้คณะทำงานเร่งยกร่างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายนนี้ ทั้งนี้การดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว ได้หารือร่วมกับ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อให้ร่างหลักเกณฑ์การขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ของสอศ. ที่มีความสมบูรณ์ จากนั้นจะไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อนเสนอให้ก.ค.ศ.พิจารณาเห็นชอบ ตนตั้งใจจะประกาศใช้ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ทันกับ ร่างหลักเกณ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีหรือเลื่อนวิทยฐานะใหม่ ซึ่งก.ค.ศ.จะประกาศใช้วันที่ 5 กรกฎาคมนี้ เพื่อให้เกิดประต่อครู ผู้บริหารและบุคลากรสอศ.มากที่สุด
“การยกร่างหลักเกณฑ์ฯ วิทยฐานะของสอศ.ครั้งนี้ ผมได้หารือ กับนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แล้ว ซึ่งนพ.ธีระเกียรติ ก็เห็นชอบให้สอศ.ดำเนินการ เพราะการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาของสอศ. และสพฐ. มีความแตกต่างกัน โดยสอศ. จะเน้นปฏิบัติความกว่า ภาคทฤษฎี ขณะเดียวกัน ลักษณะการทำงานในสาขาต่าง ๆ ของสอศ.ก็มีความแตกต่างกันค่อนข้างมา อาทิ ช่างทอง ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีวิธีการสอนไม่เหมือนกัน ดังนั้นการประเมินวิทยฐานะ ก็ควรจะให้มีความสอดคล้องกับลักษณะการทำงานของแต่ละสาขาด้วย ซึ่งต่อไปการประเมินวิทยฐานะของสอศ. จะเน้นผลงานเชิงประจักษ์ ที่เป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันก็จะดูระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญด้วย” นายสุเทพกล่าวและว่า ทั้งนี้ สอศ. มีครู ที่มีวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญ จำนวน 79 ราย จากจำนวนครูสังกัดสอศ. ทั้งหมดประมาณ 16,000 ราย นอกจากนี้ยังมีศึกษานิเทศก์ 1 ราย ผู้บริหาร 28 ราย ส่วนวิทยฐานะในระดับที่สูงขึ้นกว่านี้นั้น ยังไม่มีผู้ทำผลงานได้ เพราะธรรมชาติของสอศ. จะเน้นทางปฏิบติมากกว่า หากให้ทำผลงานทางวิชาการ เพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ เป็นเอกสาร ส่วนใหญ่จะไม่ชอบ