โพสต์โดย : Admin เมื่อ 3 ต.ค. 2560 02:58:33 น. เข้าชม 166618 ครั้ง
1. ถ้าต้องจำ จำปี ค.ศ.
เทคนิคนี้ช่วยได้เยอะเลยนะครับ ถ้านักเรียนต้องจำปีที่สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์จริงๆ อยากให้ลองจำเป็นปี ค.ศ. แทน แล้วถ้าอยากได้เป็นปี พ.ศ. ก็เอามาบวกกับ 543 เพราะการจำปี พ.ศ. นักเรียน จะเชื่อมโยงเหตุการณ์กับสถานการณ์โลกได้เลย แถมยังต้องจำซ้ำซ้อนกับสถานการณ์โลกอีก
ยกตัวอย่างเช่น สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2482 – 2488 ถ้าจำแบบนี้จะง่ายกับการอ่านประวัติศาสตร์ไทย แต่จะต้องจำอีกครั้งกับประวัติศาสตร์โลก เพราะ ทางประวัติศาสตร์โลกใช้ปี ค.ศ. ให้จำปี ค.ศ. คือ สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดในปี 1939 – 1945 จะทำให้เราจำตัวเลขแค่ชุดเดียว และเห็นความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์โลก รู้ว่าช่วงที่เกิดเหตุการณ์ในไทยเกิดขึ้นพร้อมๆ กับเหตุการณ์ใดบ้างในโลก จำครั้งเดียวเกินพอค่ะ ตอบได้ทุกข้อแน่นอน
นอกจากนี้การจำเชื่อมโยงกับปีที่สำคัญๆ กับตัวเองก็เป็นอีกเทคนิคที่ช่วยได้มาก เช่น เหตุการณ์ 9/11 ในปี 2001 ตรงกับช่วงที่เราอยู่ ม. 2 หรือ วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 1997 ตรงกับตอนเราเข้าป. 1 อะไรแบบนี้ จะทำให้น้องๆ จำได้ปีของเหตุการณ์ได้ดีกว่ามานั่งจำตัวเลข 4 ตัวนะครับ ลองดู!!
2. ทำไทม์ไลน์
เพราะรูปภาพ และแผนผังความคิดเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ช่วยจำมากขึ้น การสร้างไทม์ไลน์แบบส่วนตัว ทำให้นักเรียน เห็นภาพพัฒมนาการของประวัติศาสตร์ได้ง่ายขึ้น และเข้าใจ จดจำได้ไวขึ้น เพราะได้ผ่านการสรุปความคิดมาแล้วการได้เห็นช่วงเวลาชัดเจนขึ้น จะช่วยให้นักเรียน สนุกกันประวัติศาสตร์และเข้าใจประวัติศาสตร์มากขึ้นเพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมาในทางประวัติศาสตร์ และเป็นส่วนที่นักเรียน มักจะจำกันไม่ได้ เนื่องจากมีความทับซ้อนและยากแก่การจดจำ แต่ถ้าเราทำไทม์ไลน์ของตัวเองแล้ว เราจะได้เรียบเรียงความคิดและทบทวนประวัติศาสตร์ช่วงนั้นๆ ไปด้วย
3. รู้จักเชื่อมโยงเหตุการณ์
ใครว่าว่าวิชาประวัติศาสตร์ต้องท่องจำอย่างเดียว ครูแสนดีขอลองมาเปลี่ยนทัศนคติของนักเรียน เพราะจริงๆ แล้วประวัติศาสตร์ก้มีความเชื่อมโยงในตัวมันเอง อย่าคำที่กล่าวไว้ว่า ทุกอย่างต้องมีเหตุและมีผลของมัน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์ไทยก็เหมือนกันเลยค่ะ มีเหตุอย่างนึงและก่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น ในประวัติศาสตร์ไทย ช่วงที่มีเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เป็นช่วงเดียวกับการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 และก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบนั้น ทำให้ต้องออกนโยบายรัดเข็มขัด ประหยัดเพื่อความอยู่รอดของประเทศ ก่อให้เกิดความไม่พอใจ และอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดแนวคิดอยากเปลี่ยนแปลงการปกครองในเหตุการณ์ 2475 ขึ้น
อันนี้ครูแสนดียกตัวอย่างให้พอเป็นแนวทาง แต่นักเรียน สามารถไปประยุกต์ใช้ได้กับเรื่องที่นักเรียน เรียนเลยนะครับ แค่ลองแปลงพวกปี พ.ศ. เป็น ค.ศ. แล้วเทียบเวลากับประวัติสาสตร์โลกดูก็น่าจะได้คำตอบของเหตุผลต่างๆ ได้เลย อ่อ นอกจากวิชานี้แล้ว นักเรียน ยังสามารถเชื่อมโยงความรู้จากความเข้าใจกับวิชาอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งเศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หรือวิชาอื่นๆ ลองดูค่ะ จะได้ไม่ต้องจำซ้ำๆ กัน เปลี่ยนเป็นเข้าใจซะเล้ย!!
4. ดูหนัง เพิ่มความจำชื่อบุคคล
ปฏิเสธไม่ได้ครับว่าภาพยนตร์ หรือหนังทางประวัติศาสตร์ช่วยให้เราจำรายละเอียดได้มากกว่า เพราะเราเห็นเป็นภาพที่ชัดขึ้นกว่าอ่านเป็นตัวหนังสือ แถมยังทำให้จำชื่อคนพิเศษ บุคคลต่างๆ ในเนื้อเรื่องจำได้ดีกว่าตอนอ่านมาก แต่ก็มีข้อควรระวัง !!
ข้อควรระวังสำหรับการดูหนังทางประวัติศาสตร์คือ อย่าเชื่อตามหนังทั้งหมด หลายๆ เรื่องหยิบแค่เกร็ดประวัติศาสตร์มาทำเป็นหนัง ถ้าจำผิดๆ ไปละก็ แทนที่จะช่วย กลับจะทำให้แย่ขึ้นนะครับ ทุกครั้งที่ดูจบ ก้ลองหาประวัติศาสตร์เรื่องนั้นๆ มาลองอ่านดูอีกทีนะครับเพื่อเป็นการรีเชคว่า หนังทำถูกจริงๆ มั้ย แบบนีัชัวร์กว่าเยอะ
อ่อ ครูแสนดีมีหนังดีๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์มาแนะนำกันด้วย สนใจละสิ มาดูกันค่ะ ว่ามีเรื่องไหนบ้างที่เค้ายกย่องว่าเป็นหนังที่ทำได้สมจริงสุดๆ
1. Ghandi คานธี
ถ้านักเรียนสนใจประวัติศาสตร์ช่วงการเรียกร้องเอกราชของอินเดีย เรื่องนี้เหมาะมากๆ เรื่องนี่ครูแสนดีเคยดู จะบอกว่าสมจริงสุดๆ แถมเก็บได้ละเอียดยิบมาก อธิบายรายละเอียดไว้ค่อนข้างมาก หนังเลยยาวครับ แต่ดูจบแล้ว กลับมาอ่านอีกนิดหน่อย นักเรียนสามารถเขียนตอบได้เลย!!
2. Life is beautiful
เรื่องราวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ้าอยากอินก่อนไปอ่านประวัติศาสตร์ แนะนำหนังเรื่องนี้เลย เพราะนักเรียน จะได้เห็นภาพของการถูกจับกุมเข้าค่ายกักกันของนาซีเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธ์ของชาวยิว และภาพความโหดร้ายของครอบครัวที่ถูกทำให้ต้องแยกจากกัน ดูเรื่องนี้จบ น้ำตาซึมครับ แต่ไม่สปอยล์นะ หุหุ ต้องลองหาดูครับ รับรองว่าดูจบปุ๊ป มาอ่านประวัติศาสตร์ต่อนี่อินสุดๆ อ่านไปนึกภาพตามไป
3. Born on the Fourth of July
ถ้าอยากดูหนังแล้วให้อารมณ์สงครามเวียดนามสุดๆ เรื่องนี้ครูแสนดีแนะนำครับ ,,, แนะนำว่าดูรอบเดียวพอ เพราะโหดร้ายมาก ด้วยมุมมองของตัวละครที่เป็นทหาร สะท้อนภาพสงครามออกมาได้น่ากลัวมาก ให้อารมณ์สงครามสุดๆ ถ้าอยากได้ฟีลลิ่งก่อนไปอ่าน เรื่องนี้เลย รับรองกลับไปอ่านต่อจำได้แน่ เพราะภาพค่อนข้างสะเทือนอารมณ์จริงๆ จำได้ทุกฉากแน่ๆ ครับ แถมยังได้เห็นบรรยากาศการต่อต้านสงครามในอเมริกาช่วงนั้นด้วยนะครับ รับรองว่าอินสุดๆ
นี่แค่ตัวอย่างหนังบางส่วนนะครับ ยังมีอีกหลายเรื่องดีๆ ที่น่าดู น่าจะได้แรงบันดาลใจในการอ่าน แถมยังได้เจอเกร็ดประวัติศาสตร์ ทั้งเหตุการณ์และบุคคลที่จะทำให้นักเรียน จดจำและเข้าใจได้ระดับหนึ่ง เมื่อไปอ่านต่อก็สบาย จำได้แน่นอน แบบไม่ต้องฝืนสมองด้วย
5. เม้าท์ประวัติศาสตร์
การเม้าท์หรือเล่าเรื่องราวแบบภาษาตัวเองในวิชาประวัติศาสตร์ให้เหมือนคุยกับเพื่อน อาจจะคุยให้ตัวเองฟัง หรือจับกลุ่มกับเพื่อนในช่วงก่อนสอบก็ช่วยให้เราจดจำรายละเอียดได้ ยิ่งถ้าคุยกับเพื่อนๆ ด้วยเนี่ย จะทำให้เราได้ข้อมูลใหม่ๆ ที่เราอาจจะตกหล่นได้เพิ่มด้วย เพราะเพื่อนๆ จะช่วยกันแย้ง เหมือนเถียงๆ กัน แต่เราได้ความรู้เพียบ เช่น
ครูแสนดีเม้าท์ให้เพื่อนฟังว่า “เหย แก ,,, คืองี้นะ สงครามโลกครั้งที่ 1 เนี่ย เกิดเพราะลอบฆ่ามงกฎราชกุมาร ฝั่งนี้เลยไม่พอใจ ประกาศสงคราม แล้วนี่ก็เลยเข้าข้างกับนั่น สงครามก็ตู้ม เฉพาะในยุโรป แล้วแบบก็ทำสัญญากันที่พระราชวังแวร์ซาย เลยเป็นสนธิสัญญาแวร์ซาย แล้วคือเยอรมันนางเสียเปรียบมาก นางก็เลยแค้น นางเฟล นางก็เอาอีก คราวนี้สงครามใหญ่ เลยนำมาสู่สงครามโลกครั้งที่2” เป็นต้น
จากตัวอย่างเราก็จะได้เล่าประวัติศาสตร์ยากๆ ในภาษาตัวเอง แถมถ้าคุยกับเพื่อนๆ ก็จะมีรายละเอียดอื่นๆ ที่ช่วยกันเติมเต็มได้ ,,, อีกอย่าง กว่าจะเล่าสนุกแบบนี้ เราต้องเข้าใจแล้วพอควร ถึงจะเล่าเรื่องให้ง่ายได้จริงมั้ย ?
เอาหละครับ นี่คือ 5 เทคนิคที่สามารถนำมาใช้และช่วยให้นักเรียน เข้าใจ และสามารถอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ได้สนุกขึ้น แถมยังจำน้อยลง เพราะอ่านด้วยความเข้าใจ และเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้ ทำให้ไม่ต้องจำทั้งหมดก็สามารถตอบได้เป๊ะแน่นอนเลยครับ
ที่มา: www.dek-d.com