เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » นักวิชาการค้านฟื้น "ครูใหญ่-อาจารย์ใหญ่" ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพนักเรียน

นักวิชาการค้านฟื้น "ครูใหญ่-อาจารย์ใหญ่" ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพนักเรียน

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 26 ธ.ค. 2559 08:20:22 น. เข้าชม 166391 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
นักวิชาการค้านฟื้น "ครูใหญ่-อาจารย์ใหญ่" ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพนักเรียน
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
นักวิชาการค้านฟื้น "ครูใหญ่-อาจารย์ใหญ่" ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพนักเรียน
นักวิชาการค้านฟื้น "ครูใหญ่-อาจารย์ใหญ่" ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพนักเรียน
นักวิชาการค้านฟื้น "ครูใหญ่-อาจารย์ใหญ่" ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพนักเรียน แนะรุกกระจายอำนาจ ร.ร.ดีกว่า


มติชนออนไลน์ วันที่ 26 ธันวาคม 2559 ได้นำเสนอข่าว กรณีที่มีแนวคิดการกลับมาใช้มาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ โดยมีแนวคิดให้กลับไปใช้ตำแหน่ง ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการเหมือนในอดีต ซึ่งมีเสียงจากนักวิชาการ ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

ค้านฟื้น ‘ครูใหญ่-อาจารย์ใหญ่’ ‘อดิศร’ ติงไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพนักเรียน แนะ ‘ปนัดดา’ รุกกระจายอำนาจ ร.ร.ดีกว่า 

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม นายอดิศร เนาวนนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครราชสีมา อดีตประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 เปิดเผยกรณีที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีแนวคิดจะเสนอให้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กำหนดมาตรฐานตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ ที่ปัจจุบันใช้มาตรฐานตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเท่ากันหมด โดยจะขอให้กลับไปใช้มาตรฐานตำแหน่งครูใหญ่ และอาจารย์ใหญ่ ตามระดับโรงเรียนเหมือนสมัยก่อน โดย ม.ล.ปนัดดา เห็นว่าคำว่าครูใหญ่มีความลึกซึ้ง และสื่อความหมายความรับผิดชอบได้ชัดเจนกว่าผู้อำนวยการโรงเรียน ว่า เจตนารมณ์ของการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเหมือนกันทั้งหมด เพราะต้องการให้ผู้บริหารสถานศึกษาไม่ว่าจะอยู่โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความก้าวหน้าในตำแหน่งได้อย่างเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับผลงานทางวิชาการเป็นหลักมากกว่าจำนวนนักเรียน เพราะงานการบริหารสถานศึกษามีลักษณะเป็นงานวิชาการ ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้วางระบบที่เกี่ยวข้องไว้หมดแล้ว การที่ ม.ล.ปนัดดาดูเพียงแค่ความหมายแล้วจะกลับไปใช้ระบบเดิม จะทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนมาก

“ในช่วงเวลานี้ ผมเห็นว่า ศธ.ควรต้องแก้โจทย์หลักของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือการทำให้โรงเรียนมีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง และการลดภาระงานอื่นๆ ของโรงเรียนมากกว่าที่จะไปทำเรื่องชื่อตำแหน่ง ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็กเลย” นายอดิศรกล่าว

 

ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ 26 ธ.ค. 59

ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook