เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » กลุ่มต่อต้านพ.ร.บ.คอมพ์ ยกระดับการเคลื่อนไหวขึ้น เพื่อรัฐบาลต้องชะลอ-เดินหน้า

กลุ่มต่อต้านพ.ร.บ.คอมพ์ ยกระดับการเคลื่อนไหวขึ้น เพื่อรัฐบาลต้องชะลอ-เดินหน้า

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 22 ธ.ค. 2559 06:10:32 น. เข้าชม 166428 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
กลุ่มต่อต้านพ.ร.บ.คอมพ์ ยกระดับการเคลื่อนไหวขึ้น เพื่อรัฐบาลต้องชะลอ-เดินหน้า
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
กลุ่มต่อต้านพ.ร.บ.คอมพ์ ยกระดับการเคลื่อนไหวขึ้น เพื่อรัฐบาลต้องชะลอ-เดินหน้า
กลุ่มต่อต้านพ.ร.บ.คอมพ์ ยกระดับการเคลื่อนไหวขึ้น เพื่อรัฐบาลต้องชะลอ-เดินหน้า

คอลัมน์ รายงานพิเศษ

จากกรณีที่กลุ่มต่อต้านพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. … ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว ยกระดับการเคลื่อนไหวขึ้นเรื่อยๆ เพื่อกดดันให้รัฐบาลชะลอและปรับปรุงเนื้อหากฎหมาย

นักวิชาการ อดีตรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ไอซีที) และภาคเอกชน มีความเห็นอย่างไร

%e0%b8%ad%e0%b8%93%e0%b8%b8%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c-%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b9%82%e0%b8%93_opt

อนุสรณ์ อุณโณ

คณบดีคณะมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

แง่หนึ่งชี้ชัดว่า เราอยู่ภายใต้ระบบการปกครองที่เสียงของประชาชนไม่มีความหมาย อันเกิดตั้งแต่การรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค.57 เป็นต้นมา

168 ต่อ 0 เสียงเห็นชอบ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไร้เสียงคัดค้าน จึงไม่แปลก สะท้อนถึงการร่วมกันทำงานของคณะยึดอำนาจกับ แขนขา ที่พยายามบริหารประเทศให้ไปข้างหน้าได้ โดยไม่สนใจเสียงคัดค้าน ทำให้ 360,000 รายชื่อ บนโลกออนไลน์ และการรวมกลุ่มเรียกร้องบนท้องถนน ไม่มีความหมาย

ข้อเรียกร้องของกลุ่ม ฟรีอินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ออฟไทยแลนด์ (Free Internet society of Thailand: FIST) ตลอดจนจดหมายจาก สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (UNOHCHR) เรียกร้องให้ทบทวนชะลอร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว

เนื่องจากมีเนื้อหาละเมิดสิทธิและเสรีภาพประชาชนนั้น ไม่แน่ใจในเทคนิคทางกฎหมายว่า หากฝ่ายนิติบัญญัติลงมติวาระ 3 ผ่านไปแล้ว จะทำอะไรได้หรือไม่ จึงอยากเรียกร้องให้นักกฎหมายที่มีจิตใจฝักใฝ่ในระบอบประชาธิปไตยช่วยกันเสนอแนะว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

กลุ่มคนที่คัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้ควรจัดเวทีเสวนาผนึกกำลังกัน ระหว่างองค์กรที่มีการจัดตั้งอย่างชัดเจน และประชาชนทั่วไปที่ไม่เห็นด้วย ร่วมอภิปรายเสนอแนะหาทางออก ชี้ให้รัฐบาลตระหนักว่า ต้องไตร่ตรองพิจารณาให้รอบคอบกว่านี้ เนื่องจากกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

อีกทั้งการผ่านกฎหมายโดยกระบวนการทางนิติบัญญัติที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้น ไม่ได้หมายความว่าจะมีความชอบธรรม ในเมื่อยังมีประชาชนจำนวนมากคัดค้าน กฎหมาย ที่ผ่านการพิจารณาต้องมีความชอบธรรมทางสังคมด้วย ซึ่งเราแทบไม่เห็นกลุ่มหรือองค์กรใดที่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ถึงขนาดแจกแจงข้อดีเป็นข้อๆ ออกมาได้เลย

ส่วนการตอบโต้ด้วยการเจาะระบบคอมพิวเตอร์หรือแฮ็กข้อมูลหน่วยงานราชการ ก็เป็นแนวทางคัดค้านความไม่ชอบธรรมของกฎหมายดังกล่าวอีกทางหนึ่ง แต่ควรต้องมีการประเมินผลกระทบที่จะเกิดในวงกว้างด้วยว่า ผลของข้อมูลและระบบที่เจาะเข้าไปนั้นอย่าให้เกิดผลกระทบเกี่ยวกับสวัสดิการของประชาชน

ฟากหน่วยงานรัฐเองก็เอาไม่อยู่ ตอกย้ำความไร้ประสิทธิภาพ ย้ำชัดว่า การมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ยับยั้งการกระทำทางเทคนิคชั้นสูงของผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะเนื้อหามุ่งไปแต่การควบคุมความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง ไม่ได้ช่วยระวังระบบอะไรเลย

สอดคล้องกับโลกทัศน์ของรัฐและฝ่ายต้านว่าแตกต่างกันอย่างสุดกู่ คนต้านส่วนมากอยู่ในช่วงวัยรุ่น เติบโตผ่านประสบการณ์ที่หลากหลาย ห่างไกลจากทัศนคติความมั่นคงของรัฐที่คับแคบและตื้นเขินที่มาจากคน ผลักดันกฎหมายนี้

โชคไม่ดีที่คนกลุ่มหลังคือ ผู้มีอำนาจ จึงทำให้เกิดปัญหา ซึ่งเราคงต้องทนกันไประยะหนึ่งสัก 10 ปี แล้วระหว่างนั้นคนรุ่นใหม่จะค่อยๆ เติบโต

สิ่งที่ต้องจับตาต่อไปคือ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความมั่นคงไซเบอร์ และร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะถูกผลักดันต้นปีหน้า

ทว่านี่คือแนวปะทะใหม่ของรัฐบาลที่เกิดขึ้นมา เดิมแนวปะทะที่รัฐบาลต้องเผชิญคือ กลุ่มโหวตโนรัฐธรรมนูญ ช่วงก่อน 7 ส.ค.59

แต่ครั้งนี้จะมีเงื่อนใหม่ ที่อาจหลอมรวมคนรุ่นใหม่ที่มีโลกทัศน์ ชีวะทัศน์ ต่างไปจากคนรุ่นเดิมอย่างสิ้นเชิง เข้ากับคนกลางที่เริ่มได้รับผลกระทบจากระบอบการเมืองที่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน จนอาจกลายเป็นหอกข้างแคร่แก่รัฐบาล

โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงโค้งสุดท้ายของโรดแม็ป ที่วางการเลือกตั้งไว้ปลายปี 2560 รัฐบาลย่อมวางหมากการผลักดันกฎหมายของตัวเองที่เข้มข้นขึ้น แต่แนวปะทะนี้คือโจทย์ใหม่ที่รัฐบาลต้องเผชิญ

%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b9%8c-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%9e_opt

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

อดีตรมว.ไอซีที พรรคเพื่อไทย

ร่างกฎหมายฉบับนี้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีจำนวนไม่น้อยเชื่อว่ามีที่มาจากความพยายามควบคุมข้อมูลข่าวสารเพื่อความมั่นคงของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ

ดังนั้นโอกาสที่ผู้รับผิดชอบจะใช้อำนาจตามกฎหมายเข้าไปควบคุมข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่องมือที่รัฐจำเป็นต้องสร้างขึ้น โดยเฉพาะซิงเกิลเกตเวย์จึงมีความเป็นไปได้สูงในอนาคต

ความพยายามในการสร้างซิงเกิลเกตเวย์ที่ถูกต่อต้านอย่างหนักและไม่สามารถฝ่ากระแสสังคมผ่านออกมาได้ จึงถูกหลายฝ่ายเชื่อว่าอาจซ่อนและหมกเม็ดอยู่ภายในกลไกของกฎหมายแปลงร่างฉบับนี้

สิ่งที่ประชาชนผู้เห็นต่างกระทำนั้นมี 2 ลักษณะ คือ ผู้ที่ใช้วิธีการที่ถูกกฎหมาย ถือเป็นการอารยะขัดขืน รัฐบาลก็ควรรับฟังข้อคิดเห็น เพื่อนำมาปรับปรุงร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวให้มีความชัดเจนว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะไม่ถูกล่วงละเมิด

อีกประเภท คือ การแฮ็กเข้าเว็บไซต์ของส่วนราชการ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย กรณีนี้รัฐคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกันว่าที่ผ่านมารัฐยอมรับฟังเสียงจากพี่น้องประชาชนมากน้อยเพียงใด

ส่วนตัวเห็นว่ารัฐบาลควรใช้ช่องทางและกระบวนการของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อพิจารณาทบทวนกฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว หากยังคงละเลยและต้องการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ต่อไปเชื่อว่าจะมีประชาชนจำนวนมากอาจได้รับผลกระทบจากช่องว่างและความไม่ชัดเจนของกฎหมาย

และที่แน่ๆ คืออาจสร้างความเสียหายให้กับวงการไอซีที ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ส่วนเรื่องการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นประชาชนอีกครั้งนั้น ส่วนตัวคิดว่าผ่านจุดนั้นมาแล้ว แต่หากรัฐบาลมีความจริงใจและยอมรับฟังความเห็นของประชาชน ยังสามารถใช้ช่องทางกฎหมาย เช่น มาตรา 44 ยับยั้งไว้เพื่อทบทวนร่างดังกล่าวอีกครั้งได้

ส่วนการต่อต้านจะบานปลายหรือไม่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติและการ ตัดสินใจของรัฐบาลเป็นหลัก หากรัฐบาลเลือกที่จะใช้ไม้แข็งอย่างที่ชอบกระทำมาโดยตลอด อาจเป็นสาเหตุนำไปสู่ความวุ่นวายในสังคมได้

โดยเฉพาะกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เป็นกลุ่มที่ไม่เปิดเผยตัวตน รัฐบาลน่าจะรับมือได้ยาก เพราะที่ผ่านมาไม่เคยเห็นผู้รับผิดชอบของรัฐบาลสามารถรับมือกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกลุ่มนี้ได้สักที ก็ได้แต่หวังว่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกลุ่มนี้จะ ไม่ยกระดับการต่อต้านขึ้นไปมากกว่านี้

เพราะถ้าเปลี่ยนเป้าหรือมุ่งเป้าไปที่การเข้าถึงข้อมูลในระบบเศรษฐกิจ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตก็มีความน่ากลัวอยู่ไม่น้อย

%e0%b8%90%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3-%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%a2%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b9%8c_opt

ฐากร ปิยะพันธ์

ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรีคอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัล แบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

มองว่ารัฐบาลคงไม่ชะลอพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์แล้ว เพราะถ้ารัฐบาลต้องการรับฟังความคิดเห็น คงไม่ผ่านร่างเร็วขนาดนี้

และเมื่อรัฐบาลไม่รับฟังความคิดเห็นแล้ว ควรชี้แจงในประเด็นที่เป็นข้อสงสัยของคนทั่วไปให้ชัดเจนมากขึ้นว่าสาเหตุใดที่ออกกฎหมายอย่างนี้ สาเหตุที่มีคณะกรรมการขึ้นมากลั่นกรองเพราะอะไร และการอนุญาตให้ใครเข้าถึงข้อมูลลูกค้าส่วนบุคคลได้นั้นจะเข้าไปถึงระดับไหน

ถ้ารัฐบาลเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้จะยิ่งดี แต่ที่ผ่านมารัฐบาลน่าจะ รับฟังไปหลายรอบแล้ว

ในส่วนของกลุ่มที่ออกมาต่อต้านพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนว่าลุกลามขนาดไหน เพียงแต่เห็นว่ามีการลงชื่อ 3-4 แสนรายชื่อกัน

แต่ถ้ารัฐบาลมีความประสงค์ดีต่อการประกาศใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับนี้ น่าจะมีการชี้แจงหลายๆ ครั้ง เพราะเรื่องนี้จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ

ดังนั้นเรื่องนี้อาจเป็นประเด็นที่ทำให้นักลงทุนที่จะเข้ามาช่วยผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย หรือสตาร์ตอัพ ฟินเทค ที่ประเทศไทยต้องการแข่งขันก็จะเป็นประเด็นที่ต้องกังวล ทำให้ต่างชาติไม่มั่นใจว่าถ้าอย่างนั้นแล้ว ต้องโฮสติ้งข้อมูลที่ไหน คลาวด์แบบไหนได้ ซึ่งเป็นประเด็นความคลุมเครืออยู่

สำหรับผู้ไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แล้วป่วนตามเว็บไซต์ของราชการ ซึ่งพ.ร.บ.ใหม่จะถือเป็นความผิดร้ายแรง แต่ยังไม่รู้ว่ากลุ่มนี้จะจริงจังหรือเล่นเกมกันขนาดไหน

อย่างไรก็ตามมีความเป็นห่วงว่าหากมีผู้ไม่ประสงค์ดีขึ้นมา โดยที่ไม่ใช่คนไทยด้วยแล้ว อาจมีผลรุนแรงเกิดขึ้น เพราะประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ก็ไม่ค่อยมี อาจทำให้มีผู้เข้ามาลองของเช่นเดียวกัน

%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%b4-%e0%b9%84%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a4%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c-2_opt

จุติ ไกรฤกษ์

อดีตรมว.ไอซีที พรรคประชาธิปัตย์

กรณีที่มีกลุ่มต่อต้าน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มองได้สองมุม คือมุมแรก ถ้าสนช.คิดว่าเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.มีความชัดเจนแล้ว ประเด็นที่มีการประท้วงกันไม่เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. ก็ชี้แจงให้ชัดเจน แล้วเดินหน้าต่อ

และมุมที่สอง ถึงแม้ประเด็นที่ประท้วงจะไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจริง สนช.ควรให้เกียรติประชาชน ควรรับฟังความคิดเห็น และชี้แจงให้ชัดเจนเป็นรอบสุดท้ายก่อนประกาศใช้ก็ได้

ขณะที่คนเดือดร้อนที่มีการ เข้าชื่อ 3 แสนรายชื่อนั้น ควรมีจดหมายไปถึง สนช. ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องอะไรบ้าง มีมาตราใดที่ยังไม่ชัดเจน และมีการละเมิดตรงไหน ซึ่งสนช.ก็ต้องฟัง

ประกอบกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันแล้วว่าในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่มีซิงเกิลเกตเวย์อย่างที่กังวลกัน ดังนั้นเมื่อนายกฯยืนยัน อย่างนี้ก็น่าจะตกลงได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้ประชาชน 3 แสนรายชื่อได้สบายใจ

การแสดงความคิดเห็นของกลุ่มต่อต้านเราควรฟังเขา ซึ่งไม่ได้เสียหายอะไร ถือเป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เพื่อไม่ให้ประเทศเกิดความแตกแยก เพราะเวลานี้บรรยากาศของประเทศเดินทางมาดีอยู่แล้ว

ถ้ามีการยืนยันว่าไม่มีซิงเกิลเกตเวย์ ไม่ได้ลิดรอนสิทธิ์จริง ก็ไม่เดือดร้อน กฎหมายสามารถประกาศใช้ได้เลย แล้วอีก 2 ปีเมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ หากเห็นว่ามีการลิดรอนสิทธิ์ของประชาชน สามารถยื่นเรื่องให้รัฐบาลแก้ไข หรือทบทวนได้ เพราะกฎหมายนี้ไม่ใช่แก้ไม่ได้ ดังนั้นตอนนี้ใช้ไปก่อน

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคนไทยคุยกันได้อย่างมีเหตุมีผลอยู่แล้ว ถึงได้แนะนำให้สนช.ฟังเขาสักนิดว่ามีอะไรบ้าง เพราะแม้กฎหมายจะผ่านการพิจารณาของสนช.ไปแล้ว ก็สามารถแก้ได้ จะแก้มาตราไหนวันเดียวก็สามารถพิจารณาเสร็จ เพราะสนช. มีอำนาจเด็ดขาด ทำอะไรได้อยู่แล้ว

จึงมองว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านจะไม่บานปลายออกไปแน่นอน และคิดว่าแม้มีการเคลื่อนไหว รัฐบาลก็รับมือไหว เพราะนายกฯเป็นคนมีเหตุมีผล แม้จะเป็นคนที่เด็ดขาดก็ตาม เมื่อรับฟังแล้วก็ยึดประโยชน์ของประเทศเป็นที่สุด ใครที่รับหลักการว่าถือผลประโยชน์ประเทศสูงสุดก็น่าจะยอมรับได้

ส่วนที่กังวลว่ากลุ่มต่อต้านอาจจะแฮ็กข้อมูลหน่วยราชการโดยเฉพาะด้านความมั่นคงนั้น เชื่อว่าคนที่ต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ก็รักประเทศเหมือนกัน ไม่มีใครคิดเช่นนั้นแน่ ดังนั้นอย่าปล่อยให้คนชั่วมาสวมรอย

เพราะรัฐบาลออกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาเพื่อป้องกันความมั่นคงทางไซเบอร์ และเพื่อประโยชน์ของส่วนร่วม

ประชาชนก็น่าจะยอมรับกัน ถ้าพิสูจน์ว่าไม่มีการละเมิดให้เสียหายมากนัก


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook