โพสต์โดย : Admin เมื่อ 9 ส.ค. 2564 08:49:49 น. เข้าชม 166842 ครั้ง
ผู้บริหารสถานศึกษา ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ แสดงความคิดเห็น กรณีข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องเกษียณอายุข้าราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในวันที่ 30 ก.ย. นี้ จำนวน 20,302 ราย มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. นี้เป็นต้นไป
ปีที่ผ่านมาอัตรา มีจำนวน 23,321 คน ส่วนปี 2565 น่าจะประมาณ 20,983 คน ถือว่าปกติ ซึ่งคณะกรรมการข้า
ราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จะมีกระบวนการจัดสรรอัตราว่างจากการเกษียณ ทั้งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และอื่นๆที่ว่างลง อยู่แล้วอาทิเช่น กาจัดสรรอัตราว่างให้หน่วยงาน สถานศึกษาที่สงวนอัตราตำแหน่งครูผู้ช่วย ไปสพฐ. ไปสอศ.หรือรองรับการบรรจุตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นต้น ”
สำหรับแนวนโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการ จะนำเงินที่ได้รับพระราชทานเงิน 70 ล้านบาทไปสนับสนุนสถานศึกษาในสังกัด ที่จะใช้อาคารและพื้นที่จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนาม ศูนย์พักคอย และสถานที่กักตัว 682 แห่ง “จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ดี เบื้องต้นจะเกิดโรงพยาบาลสนาม 156 แห่ง รองรับได้ 11,429 เตียง และเป็นสถานที่กักตัว หรือศูนย์พักคอย 526 แห่ง รองรับได้ 18,725 เตียง จากสถานศึกษา 682 แห่ง รวมแล้วจะมี 30,154 เตียง คงมีเกณฑ์พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ไม่ให้เป็นจุดเสี่ยงของครู บุคลากรทางการศึกษาที่มาปฏิบัติงานในพื้นที่อยู่แล้ว อาจจะเป็นอาคารที่ สถานที่ควบคุมการเข้าออกได้ไม่ต้องปรับปรุง ใช้งบอะไรเพิ่มเติมการเพิ่มพื้นที่พักคอย หรือจุดกักกันโรค ควรพิจารณารูปแบบให้เป็นพื้นที่รองรับจังหวัดควบคุมสูงสุด ไม่ให้ผู้ติดเชื้อเดินทางมายังภูมิลำเนา สกัดการกระจายของกลุ่มเสี่ยงแพร่ระบาดในรอบวงในใกล้กรุงเทพกับเขตปริมณฑล ซึ่งคงยาก เพราะ ชุมชน ใกล้เคียง ไม่อยากให้มีสถานที่แบบนี้อยู่ในพื้นที่ แต่เมื่อมีนโยบาย กระจายทุกพื้นที่ทั่วประเทศ บรรดาสถานศึกษาต่างจังหวัดก็ต้องสนองนโยบายตามเหมาะสม”
ล่าสุดมีข่าวดีอยู่เรื่องคือกลุ่มข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา สังกัด ศธ. ซึ่งเป็นข้าราชการ จะได้รับสิทธิกรณีผู้มีสิทธิ-บุคคล ในครอบครัวข้าราชการเสี่ยงหรือติดเชื้อโควิด มีอาการรุนแรงเบิกจ่ายได้สูงสุด 7,500 บาท/วัน มีผลบังคับใช้ 16 ส.ค.นี้ นับเป็นโครงการที่ดี ในการสร้างขวัญกำลังใจ ส่วนประเด็นที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินกิจกรรม 12 สัปดาห์ พัฒนานวัตกรรม การศึกษาวิถีใหม่ วิถีคุณภาพโดยมีเป้าหมายพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม เป้าหมาย 349 โรงเรียน ให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและจัดการเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ตามความต้องการและเหมาะสมกับบริบท พื้นที่ นั้นๆ
“ควรตระหนักว่าการพัฒนาให้บรรลุเป้าประสงค์ทั้ง แนวทางปั้นครูเป็นยูทูบเปอร์ ห้องเรียนเชิงบวก ปัจจุบัน ศักยภาพครู ผู้สอนมีบุคลิก ความสามารถแตกต่างกัน อย่ามุ่งเพียงรูปแบบโดดเด่นดัง เป็นที่น่าสนใจ แต่ควรคำนึงถึง เนื้อหา สาระ ผลลัพท์ที่ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้รับรู้ด้วย ไม่ใช่เป็นการแสดง มีกิจกรรมสนุกๆ สนานร่วมกัน เพื่อดึงผู้เรียน ให้สนใจการเรียนออนไลน์ ” และสิ่งที่ผู้ปกครอง นำเสนอต่อสถานศึกษา คือ ควรเร่งรัดโครงการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาช่วงแพร่ ระบาดของโรคโควิด-19 ใน 3 มาตรการ วงเงินกว่า 22,000 ล้านบาท โดยช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ทั้งภาครัฐ และเอกชน และสถานศึกษานอกสังกัด ศธ. ในอัตรา 2,000 บาทต่อคน ประมาณ 11 ล้านคน ภายในสิ้นเดือนนี้น่าจะได้รับเงินตามแผน และพิจารณาสนับสนุน เรื่องอินเตอร์เน็ต เรียนออนไลน์ด้วย ในอัตราที่เหมาะสมต่อราย เพื่อไม่ให้ผู้ปกครอง แบกรับภาระในช่วงนี้มากเกินไป