โพสต์โดย : Admin เมื่อ 20 มี.ค. 2560 13:47:25 น. เข้าชม 166469 ครั้ง
ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ดำเนินการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 18-19 ก.พ. ที่ผ่านมา พร้อมทั้งกำหนดประกาศผลสอบในวันที่ 20 มี.ค. ทางเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th นั้น
ประกาศผลแบบรายบุคคล คลิกที่นี่
อ่านต่อที่นี่ : ผลสอบโอเน็ต ม.6 พบภาษาไทยได้คะแนนเกิน 50 วิชาอื่นๆ ร่วงต่ำกว่าครึ่ง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. เปิดเผยว่า ขณะนี้สทศ.ได้ประกาศผลสอบโอเน็ต ม.6 เรียบร้อยแล้ว โดยสรุปจำแนกตามรายสาระการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ดังนี้ ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 378,161 คน คะแนนเฉลี่ย 52.29 คะแนน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้เข้าสอบ 378,924 คน คะแนนเฉลี่ย 35.89 คะแนน ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 378,779 คน คะแนนเฉลี่ย 27.76 คะแนน คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 379,064 คน คะแนนเฉลี่ย 24.88 คะแนน วิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 378,268 คน คะแนนเฉลี่ย 31.62 คะแนน
ซึ่งภาพรวมผลสอบโอเน็ต ม.6 ปีการศึกษา 2559 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผลสอบปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 วิชา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาที่เหลือ คือสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
หากจำแนกตามรายสาระการเรียนรู้ พบว่าสาระวิชาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนี้ ภาษาไทย คือ สาระการฟัง การดู และการพูด, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คือ สาระภูมิศาสตร์, ภาษาอังกฤษ คือ สาระภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก, คณิตศาสตร์ คือสาระจำนวนและการดำเนินการ และวิทยาศาสตร์ คือ สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ผอ.สทศ. กล่าวต่อว่า เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน ที่ตั้ง และภูมิภาค พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในการสอบทุกวิชา โรงเรียนที่ตั้งในเมืองมีคะแนนสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งนอกเมืองทุกวิชา และโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และมีคะแนนสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งในภาคอื่นๆ ทุกวิชา
“นอกจากนี้ โรงเรียนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกวิชา อย่างไรก็ตาม สทศ.จัดทำใบรายงานผลสอบโอเน็ต ดังนี้ ระดับรายบุคคล ระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับศึกษาธิการจังหวัด และระดับศึกษาธิการภาค เพื่อให้นักเรียน โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ ต้นสังกัด และผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำผลสอบโอเน็ต ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้น” นายสัมพันธ์