เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » ฟังเสียง “นักเรียนเลว” และ “ครูขอสอน” ในการปฏิรูปการศึกษา โดย โคทม อารียา

ฟังเสียง “นักเรียนเลว” และ “ครูขอสอน” ในการปฏิรูปการศึกษา โดย โคทม อารียา

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 13 ก.ย. 2563 05:41:02 น. เข้าชม 166417 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ฟังเสียง “นักเรียนเลว” และ “ครูขอสอน” ในการปฏิรูปการศึกษา โดย โคทม อารียา
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ฟังเสียง “นักเรียนเลว” และ “ครูขอสอน” ในการปฏิรูปการศึกษา โดย โคทม อารียา
นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มาจากโรงเรียนกว่า 50 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ได้นัดแนะกันมาตั้งเวทีที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มนักเรียนเลวและเครือข่าย” ทั้งยังได้ประสานกับตำรวจเรื่องการใช้สถานที่จัดกิจกรรม จึงมีตำรวจนครบาลมาดูแลความสงบเรีย

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2563 นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มาจากโรงเรียนกว่า 50 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ได้นัดแนะกันมาตั้งเวทีที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มนักเรียนเลวและเครือข่าย” ทั้งยังได้ประสานกับตำรวจเรื่องการใช้สถานที่จัดกิจกรรม จึงมีตำรวจนครบาลมาดูแลความสงบเรียบร้อยประมาณ 50 นาย ขณะที่รอนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาขึ้นเวที มีการปราศรัยทวงถามข้อเรียกร้องต่าง ๆ โดยแบ่งข้อเรียกร้องได้เป็น 3 กลุ่มคือ 1) โรงเรียนเป็นที่ปลอดภัย ไม่ให้นักเรียนถูกคุกคาม 2) ยกเลิกกฎระเบียบล้าหลัง 3) ปฏิรูปการศึกษา และมีเงื่อนไข 1 ข้อคือ ถ้าไม่สามารถทำได้ ขอให้รัฐมนตรีลาออก

เมื่อรัฐมนตรีมาขึ้นเวที การพูดคุยซักถามจึงเริ่มขึ้นโดยมีนายลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ เป็นตัวแทนกลุ่มนักเรียนเลว และนายจักรกฤต โยมพยอมเป็นผู้ดำเนินรายการ มีการรายงานการพูดคุยซักถาม ซึ่งสรุปจากเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/129528621455/posts/10157249622696456/ได้ว่า รัฐมนตรีได้ตอบคำถามเชิงให้สัญญาไว้หลายข้อ ที่ควรแก่การบันทึกไว้ เพื่อตรวจสอบต่อไปว่า เมื่อเวลาผ่านไปจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงตามที่รัฐมนตรีกล่าวไว้หรือไม่

ข้อ 1. ถ้าครูลงโทษโดยใช้ความรุนแรง ครูจะถูกลงโทษตามระเบียบวินัย ในเรื่องนี้รัฐมนตรีกล่าวว่า “แม้มีครูที่ไม่เข้าใจการแสดงออกของนักเรียน แต่มีครูอีก 5 แสนคนที่เข้าใจ และพยายามบริหารจัดการเรื่องนี้” ลภนพัฒน์กล่าวว่า “การคุกคามไม่ใช่แค่เรื่องการแสดงออกทางการเมือง แต่รวมถึงการตี การทำร้าย และการลงโทษนักเรียนอย่างไม่สมเหตุสมผล กระทรวงฯเลือกวิธีรับเรื่องร้องเรียนจากนักเรียน มากกว่าจะส่งตัวแทนไปประเมินว่า โรงเรียนใดยังมีการคุกคามนักเรียนอยู่หรือไม่” สุดท้ายรัฐมนตรีสรุปว่า ถ้า “ครูทำผิดจรรยาบรรณของการเป็นครู เราต้องลงโทษไปตามระเบียบวินัยของกระทรวงฯ”

ข้อ 2. การแสดงออกทางการเมืองของนักเรียนไม่ผิด ถ้าโรงเรียนห้ามถือว่าขัดต่อระเบียบ ในเรื่องนี้รัฐมนตรีกล่าวว่า “ครับ ไม่ผิด ตราบใดที่การแสดงออกตรงนั้นอยู่ในบริเวณของโรงเรียน ไม่ก้าวก่ายสิทธิของคนอื่น” ลภนพัฒน์กล่าวว่า “กระบวนการร้องเรียนมันไม่มีประสิทธิภาพมากพอ การประเมินโรงเรียนไม่ใช่สิ่งเลวร้าย สิ่งที่เลวร้ายคือวัฒนธรรมในการประเมิน (ที่ทำแบบผักชีโรยหน้า) คนประเมินไม่ควรบอกก่อน ไม่ต้องให้ต้อนรับ ไม่ต้องรบกวนการเรียนการสอน การประเมินถือเป็นวิธีการที่น่าสนใจในการตรวจสอบปกป้องนักเรียนในประเด็นต่าง ๆ”

ข้อ 3. นักเรียนเอาความจริงที่ถูกคุกคามในโรงเรียนมาเผยแพร่ได้ ในเรื่องนี้รัฐมนตนี้กล่าวว่า “ไม่ต้องซุกครับ เอาข้อมูลนั้นออกมา … เราพร้อมรับฟัง” ลภนพัฒน์กล่าวว่า “ขอยกตัวอย่างประกอบ ปีที่แล้ว …ที่ยโสธร ครูตบหน้านักเรียน กระทรวงฯก็แก้ไขจัดการ … แต่ถ้าเราลองย้อนและเช็คประวัติครูท่านนี้ พบว่าเคยก่อคดีเอาเข็มขัดฟาดหลังนักเรียนเมื่อประมาณปี 54 ครูถูกสอบสวนและรับผิดด้วยการขอโทษขอโพยเพียงเท่านี้ และสอนในโรงเรียนเดิมจนก่อคดีอีกครั้งในปีที่ผ่านมา … ท่านรัฐมนตรีต้องปกป้องเราไม่ให้ถูกคุกคามตั้งแต่แรก”

ข้อ 4. การล่วงละเมิดทางเพศ ยาเสพติด การทำร้ายร่างกายในโรงเรียน เขตพื้นที่ ศึกษาธิการ ผู้อำนวยการโรงเรียนไม่ปฏิบัติถือเป็นความผิด ในเรื่องนี้รัฐมนตรีกล่าวว่า “เราอยู่ในระบบที่เรารู้จักซึ่งกันและกัน หาทางประนีประนอมกัน แต่ … เรื่องของความปลอดภัยในโรงเรียน เรื่องสุขลักษณะของนักเรียน โรงเรียน เรื่องเหล่านี้เรายอมไม่ได้ เช่นเรื่องล่วงละเมิดทางเพศ ที่ไม่เคยมีการไล่ออกมาก่อนเลย แต่วันนี้กระทรวงฯไม่ยอมแล้วครับ”


ข้อ 5. กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ตราไว้ 2-5 ปีขึ้นไปและไม่มีประสิทธิภาพ ต้องปรับปรุง แต่ชุดนักเรียนควรใส่เพราะปลอดภัย ในเรื่องนี้ ลภนพัฒน์กล่าวว่า “ที่นักเรียนถูกคุกคาม ทำร้ายร่างกาย กระทำทางเพศ ทุกอย่างนี้ถูกกระทำในคราบชุดนักเรียนตลอด เราเห็นข่าวน้อยมากที่เด็กและเยาวชนถูกทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้ใส่ชุดนักเรียน … ชุดนักเรียนไม่ใช่เสื้อเกราะ ไม่ได้ทำให้นักเรียนปลอดภัยได้” รัฐมนตรีมีความเห็นว่า “ถ้าเราเปิดให้มีการแต่งตัวตามธรรมชาติ ฟังแล้วเหมือนดูดี แต่จริง ๆ แล้ว มันจะเกิดการแข่งขันเรื่องการแต่งตัว เรื่องไหนสร้างความแตกแยก หาทางออกที่เหมาะสมไม่ได้ ก็ต้องรอก่อน”

ข้อที่ 6. ครู นักเรียน เข้าร่วมพิจารณาเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของกระทรวงฯได้ ในเริ่องนี้รัฐมนตรีกล่าวว่า “ขั้นตอนที่เราทำคือ มาดูว่ากระบวนการที่ติดขัด ล่าช้า คือเรื่องอะไร จากนั้นจะมีการทำประชาพิจารณ์ ครู น้อง ๆ ในโรงเรียน ถึงตอนนั้น ผมยินดีเอาน้อง ๆ มาเป็นตัวแทนดูกฎระเบียบด้วย”

ข้อที่ 7 นักเรียนหญิงไว้ผมม้าได้ แต่นักเรียนชายไว้ผมยาวไม่ได้ นักเรียนหญิงตัดผมสั้นแบบผู้ชายไม่ได้ ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีกล่าวว่า “ผู้หญิงสามารถไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ แต่ถ้ายาวต้องรวบ ผมทั้งหมดต้องสะอาด ผู้ชายไว้รองทรงได้ และไม่เปิดโอกาสให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาตัดสินหรือวางกฎระเบียบเป็นอย่างอื่นได้ ณ ขณะนี้” ลภนพัฒน์ถามว่า “ถ้าเขามีความหลากหลายทางเพศละครับ” รัฐมนตรียืนยันว่า “ณ วันนี้ยังไม่ได้ครับ” รัฐมนตรีต่อท้ายว่า “ฝากไว้นิดหนึ่ง คำนึงถึงครูด้วย สิ่งต่าง ๆ ที่เราพูดกันไป เป็นเรื่องที่ครูต้องทำความเข้าใจและใช้เวลา”

ข้อที่ 8. รัฐมนตรีตอบเงื่อนไขของนักเรียน ว่า “ผมปฏิบัติได้หลาย ๆ อย่างที่เราพูดถึงในวันนี้ วันที่ผมคิดว่าไม่สามารถทำคุณประโยชน์ให้ประเทศได้ ผมจะพิจารณาตัวเอง”

ขณะที่รอการมาร่วมเวทีของรัฐมนตรี มีครูคนหนึ่งซี่งเป็นตัวแทนของ “ครูขอสอน” ซึ่งใช้สมญาว่า ครูทิว มะขามป้อม ขึ้นมาพูดถึงข้อเรียกร้องของครูในการปฏิรูปการศึกษา ครูทิวเสนอปัญหาของครูที่อยากสอนและขอสอนว่า ครูถูกดึงให้ไปทำหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่การสอนมากเกินไป ครูต้องทำหน้าที่ธุรการ บริหาร บริการการศึกษา ทำผลงานเพื่อเลื่อนตำแหน่ง คอยติดตามผู้หลักผู้ใหญ่ ทำการประเมินผล คอยดูแลผู้มาประเมินผล หรือแม้แต่ถูกเชิญเข้ารับการอบรมทางวิชาชีพ วิชาการต่าง ๆ นานา จนงานสอนถือเป็นงานรอง ที่ไม่ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในการงาน เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/568169114/posts/10160098277874115/ แสดงการปราศรัยของครูทิวประมาณ 20 นาที ซึ่งสรุปความสั้น ๆ ได้ดังนี้

“ครูก็ถูกคุกคาม ครูบางคนที่ให้คำปรึกษานักเรียนด้วยใจเป็นกลาง อยู่เคียงข้างนักเรียน แต่กลับถูกตั้งคณะกรรมการสอบทางวินัย ทำไมครูจำนวนมากจึงไม่กล้าแสดงออกทางการเมือง เพราะเขากลัวจะผิดวินัย แต่อันที่จริง วินัยเพียงแต่ห้ามมิให้ครูใช้อำนาจหน้าที่ไปเอื้อประโยชน์ทางการเมืองแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จึงควรทำความเข้าใจกันว่า ไม่ว่าครูหรือนักเรียน ต่างสามารถแสดงออกทางการเมืองได้ สามารถติดตามพัฒนาการทางการเมืองได้

ในปัจจุบัน ครูไม่เป็นอิสระในการใช้ความเป็นครูเพื่อสร้างห้องเรียนในฝัน ที่นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์ ครูถูกกักขังอยู่ในโครงสร้างและระบบราชการ การปฏิรูประบบการศึกษาไม่สำเร็จ เพราะระบบไม่ให้เสรีภาพทางวิชาการแก่ครู ทั้ง ๆ ที่ครูคือผู้ที่รู้จักนักเรียนดีที่สุด แต่กลับถูกใช้ให้ทำภารกิจอื่นมากมายที่ไม่ใช่การเรียนการสอน ภารกิจเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องใช้ครูทำก็ได้ ครูถูกประเมินจากกระดาษ จากเอกสาร จากรูปถ่ายขณะทำหน้าที่ครู ฯลฯ ครูถูกประเมินจากการทำตามนโยบายผู้บริหาร จากการเอาใจผู้บริหาร ฯลฯ แต่ไม่เคยถูกประเมินจากความพอใจของนักเรียน จากผลการเรียนรู้ของนักเรียน ฯลฯ

นักเรียนมาโรงเรียนเพื่ออะไร ครั้งหนึ่งมีการศึกษาวิจัยที่ทำแบบสอบถามให้นักเรียนเลือกว่าเขามาโรงเรียน (ก) เพื่อการขัดเกลา อบรมบ่มนิสัย (ข) เพื่อรับถ่ายทอดวิชาความรู้และสิ่งที่ดีงาม (ค) เพื่อพัฒนาร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา (ง) เพื่อการค้นพบตัวเอง (จ) เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ปรากฏว่านักเรียนส่วนใหญ่ตอบว่า เขาไปโรงเรียนเพื่อการค้นพบและพัฒนาตัวเอง แล้วโรงเรียนและครูตอบสนองความคาดหวังของนักเรียนสักเพียงใด หากมุ่งการอบรมและถ่ายทอดวิชาอย่างเดียว การศึกษาจะกลายเป็นการกดขี่ ในขณะที่นักเรียนต้องการการปลดปล่อย”

ข้อเรียกร้องสำคัญของนักเรียนคือการปฏิรูปการศึกษา ที่จะปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์จากแอกของระบบราชการ ในการนี้ ทั้งนักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาล้วนต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง โดยลดภยาคติและเพิ่มความกล้าหาญโดยช่วยกันสร้างระบบจากฐานราก มิใช่จากบนลงล่างสถานเดียว แล้วถ้ามีคนถามว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยไปไหนหมด เขาอาจจะตอบว่า มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ปลดปล่อยแล้ว เราออกนอกระบบราชการแล้ว เป็นจริงเช่นนั้นทางนิตินัย แต่ด้วยระบบคิดและวัฒนธรรมองค์กร มหาวิทยาลัยนอกระบบบางแห่งยังเป็นระบบราชการมากกว่าเดิมเสียอีก การปฏิรูปจึงไม่ง่าย กระนั้น การที่นักเรียนออกมาท้าทายวัฒนธรรมองค์กร ได้ให้ความหวังแก่เราบ้างแล้วมิใช่หรือ

 




☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook