โพสต์โดย : Admin เมื่อ 17 มิ.ย. 2560 14:01:18 น. เข้าชม 166556 ครั้ง
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. แถลงผลการประชุม โดยสรุปดังนี้
• เห็นชอบ (ร่าง) มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน และเงื่อนไขเกี่ยวกับประสบการณ์ในตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการปรับปรุง
กำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง เพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ให้มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง เป็นเวลา 5 ปี จึงจะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นในแต่ละระดับ ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมแก่การสั่งสมประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความชำนาญและเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการสอน เพื่อให้สามารถพัฒนางานให้มีคุณภาพที่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ ต้องมีภาระงาน และมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดด้วย
สำหรับประสบการณ์ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ตามที่กำหนดไว้เดิม มิให้นำมาใช้กับมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะที่กำหนดใหม่นี้
ที่ประชุมมีข้อสังเกตว่า ควรมีการปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะในทุกสายงานไปพร้อมกันด้วย และควรศึกษาเส้นทางความก้าวหน้า (Career Path) ในแต่ละสายงานให้มีความสอดคล้องรองรับกันด้วย
1. (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะใหม่ สายงานการสอน โดยกำหนดให้ผู้ที่จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีชั่วโมงการปฏิบัติงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด (ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ 800 ชั่วโมง/ปี และเชี่ยวชาญ/เชี่ยวชาญพิเศษ 900 ชั่วโมง/ปี)
- ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย/จรรยาบรรณวิชาชีพ ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา นับถึงวันที่ยื่นคำขอและในระหว่างการดำเนินการจนถึงวันที่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) หรือ ก.ค.ศ. มีมติอนุมัติ
- ผ่านการพัฒนาตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
- มีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ นับแต่วันที่ยื่นคำขอย้อนหลังไป 3 ปีการศึกษาติดต่อกัน
2. (ร่าง) ตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการเรียนการสอน มี 3 ด้าน ได้แก่
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน
ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3. (ร่าง) บทเฉพาะกาลหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ กล่าวโดยสรุป คือ
- ผู้ที่ยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ไว้ก่อนการประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ ต่อมาทราบผลการประเมินภายหลังเกณฑ์ใหม่ประกาศใช้ สามารถยื่นขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ได้อีก 1 ครั้ง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่หลักเกณฑ์กำหนด
- ผู้ที่ดำรงตำแหน่งครู อยู่ก่อนวันที่ประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ แต่ยังมีคุณสมบัติไม่ครบตามหลักเกณฑ์ ว 17/2552 สามารถยื่นขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว 17/2552 ได้ ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีคุณสมบัติครบ
- ผู้ที่มีคุณสมบัติในแต่ละวิทยฐานะครบตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ตั้งแต่วันที่หลักเกณฑ์ใหม่ประกาศใช้ สามารถยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ได้ ภายใน 1 ปี นับจากวันที่หลักเกณฑ์ใหม่ประกาศใช้
- ผู้ที่มีคุณสมบัติครบทั้งหลักเกณฑ์เก่าและหลักเกณฑ์ใหม่ สามารถเลือกยื่นขอรับการประเมินได้ ตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่ง
- ในช่วงเปลี่ยนผ่าน หากข้าราชการครูมีความประสงค์จะยื่นขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ใหม่ แต่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ ก.ค.ศ. จะมีหลักการเทียบคุณสมบัติให้
4.
ซึ่งเป็นการ เลื่อนเงินเดือนแบบเปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ และอนุมัติให้การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 2 ครึ่งปีหลัง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2560 (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2560) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดิมไปพลางก่อน
- ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
- การคัดเลือก ใช้วิธีการประเมิน 3 ส่วน ได้แก่ ความรู้ความสามารถในตำแหน่ง ความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ และความเหมาะสมกับตำแหน่ง
- ให้ส่วนราชการกำหนดวันและเวลาในการคัดเลือก องค์ประกอบ ตัวชี้วัดในการประเมินความรู้ความสามารถในตำแหน่ง และความเหมาะสมกับตำแหน่ง รวมทั้งกำหนดรูปแบบและวิธีการประเมินความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่
- ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือก โดยมีวิธีการคัดเลือก ดังนี้
> การประเมินความรู้ความสามารถในตำแหน่ง พิจารณาจากประวัติ ประสบการณ์ และผลงานที่ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกได้รายงาน
> การประเมินความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ ให้ประเมินตามรูปแบบและวิธีการที่ส่วนราชการกำหนด
> การประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง พิจารณาจากวิสัยทัศน์และแนวทางการนิเทศการศึกษา ที่ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกได้รายงาน และการสัมภาษณ์ตามตัวชี้วัดและองค์ประกอบการประเมินที่ส่วนราชการกำหนด
- มีการขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก
ทั้งนี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว สำหรับการคัดเลือกผู้ที่ได้รับการเกลี่ยอัตรากำลัง เพื่อเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ครั้งแรกเท่านั้น
- ขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 11 จังหวัด อัตรากำลัง 68 ตำแหน่ง
- ขนาดใหญ่ จำนวน 8 จังหวัด อัตรากำลัง 65 ตำแหน่ง
- ขนาดกลาง จำนวน 27 จังหวัด อัตรากำลัง 60 ตำแหน่ง
- ขนาดเล็ก จำนวน 31 จังหวัด อัตรากำลัง 56 ตำแหน่ง
นอกจากนี้ ได้ให้ความเห็นชอบให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ศึกษานิเทศก์ ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ได้รับเงินวิทยฐานะตามวิทยฐานะเดิม
โดยมี นายกิตติรัตน์ มังคละคีรี ผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. เป็นประธาน
อิทธิพล รุ่งก่อน: ถ่ายภาพ
16/6/2560
ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ