เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป » ข้อสอบ ม.2 "เดินทางโดยเรืออะไรสำคัญที่สุด" ชาวเน็ตวิจารณ์สนั่น ครูเฉลยตรรกะพัง

ข้อสอบ ม.2 "เดินทางโดยเรืออะไรสำคัญที่สุด" ชาวเน็ตวิจารณ์สนั่น ครูเฉลยตรรกะพัง

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 31 มี.ค. 2564 08:15:15 น. เข้าชม 166431 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ข้อสอบ ม.2 "เดินทางโดยเรืออะไรสำคัญที่สุด" ชาวเน็ตวิจารณ์สนั่น ครูเฉลยตรรกะพัง
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ข้อสอบ ม.2 "เดินทางโดยเรืออะไรสำคัญที่สุด" ชาวเน็ตวิจารณ์สนั่น ครูเฉลยตรรกะพัง
โลกออนไลน์แห่แชร์ข้อสอบเด็กนักเรียน ม.2 คำถาม "อะไรที่สำคัญที่สุดของการเดินทางโดยเรือ" ครูเฉลยมาถึงกับอึ้ง ยืนยันการฝึกว่ายน้ำให้เป็นสำคัญที่สุดมากกว่าใส่เสื้อชูชีพ ชาวเน็ตวิจารณ์สนั่นบอกตรรกะพัง

นนี้ (26 มี.ค.64) โลกออนไลน์แห่แชร์ภาพข้อสอบ เด็ก ม.2 ที่ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงคำตอบที่คุณครูเฉลย ซึ่งไม่ตรงกับตามหลักสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง


เรื่องราวดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านเพจเฟซบุ๊ก "Panya Society" โดยอาจารย์บอย ได้บอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า เรื่องราวที่เป็นประเด็นเช้านี้คือ เมื่อมีผู้ใช้ twitter ท่านหนึ่ง post ข้อสอบสุขศึกษาของน้อง ม. 2 พร้อมเฉลยที่หลายเสียงสื่อสารตรงกันว่า 'ตรรกะบ้ง' มาดูดีกว่า ว่ามันตลกตรงไหนบ้าง หรือผิดพลาดในจุดใด




1) ตัวข้อสอบถามว่า "สิ่งที่จำเป็นในการเดินทางโดยเรือ" เด็กมองว่าคือ 'เสื้อชูชีพ' เพราะว่า ไม่ว่าจะว่ายน้ำเป็นหรือไม่เป็น ยังไงทุกคนต้องใส่เสื้อชูชีพ แต่ปรากฏว่าเฉลยของครู ให้เหตุผลว่าทักษะที่ต้องมีคือว่ายน้ำเป็นต่างหากที่เป็นพื้นฐาน แต่เด็กก็ถกเถียงกลับเช่นกันว่า


"แล้วทำไม ไม่ว่าใครก็ตามจะว่ายน้ำเป็นเรือไม่เป็น สิ่งแรกที่เวลาลงเรือต้องได้รับคำเตือนจากเจ้าหน้าที่ คือ การสวมเสื้อชูชีพล่ะ?"


เสื้อชูชีพไม่ใช่สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดของคนเดินเรือทุกคนหรอกหรือ? และถ้าคิดตรรกะเทียบเคียงง่ายๆ ถ้าคุณว่ายน้ำไม่เป็น แบบนี้ก็คงไม่ต้องเดินเรือไหม เพราะครูเฉลยแบบนี้ ดังนั้น ต่อให้ว่ายน้ำไม่เป็น เสื้อชูชีพควรมาก่อนทักษะว่ายน้ำ ไม่ใช่การบังคับให้ทุกคนว่ายน้ำได้ โดยที่ไม่มีเสื้อชูชีพคำว่า 'อะไรสำคัญที่สุด' ของครูกับเด็กในข้อนี้ ไม่ตรงกันซะแล้ว (มีคำอธิบายเฉลยโจทย์ในช่อง comment จากคุณครูด้วยครับผม ตามลงไปอ่านได้ครับ)



2) ส่วนอีกข้อหนึ่ง "การสื่อสารที่เร็วที่สุดในการขอความช่วยเหลือ" ครูให้ตอบโทรสาร แต่เด็กตอบตะโกน เห็นเต็มๆว่า มีคำตอบชุดหนึ่งที่ล้าหลัง ยุคนี้ สมัยนี้ จะโดนข่มขืน กำลังจะจมน้ำ หรือมีโจรผู้ร้าย ยังต้องส่ง fax!!!! ขออนุญาตงงครับ มีคนตายก่อนแน่นอนจากการช่วยเหลือที่เร็วที่สุดนี้


3) เราเห็นข้อสอบแบบนี้ เรามีคำถามเลยนะว่า "ทุกวันนี้ครูเฉลยข้อสอบ เฉลยโจทย์ให้เด็กถูกต้องรึเปล่า?" แล้วพวกเขาเรียน หรือจดจำวิชาความรู้อะไรกันอยู่ แล้วถ้าครูสอนผิดๆไปล่ะ เฉลยมั่วๆไปล่ะ เด็กๆกำลังจดจำอะไร?


4) เมื่อตรรกะของการเฉลยของครู กับชุดตรรกะของเด็กเป็นคนละชุดกัน ครูต้องอธิบายให้เด็กยอมรับได้ ไม่งั้นเขาจะต่อต้านชุดความรู้ที่ครูมอบให้ และไม่เชื่อมุมมอง และความรู้ที่ครูสอนอีกต่อไป ครูต้องตอบในสิ่งที่เด็กถามให้เคลียร์จริงๆ เด็กจึงจะเรียนรู้ได้อย่างสบายใจว่า ทุกคำถามของเขามีคำตอบให้เขาได้จริง


5) อย่าห้ามเด็กตั้งคำถาม อย่าห้ามเด็กสงสัย ให้โอกาสเด็กที่จะตั้งคำถามกับสิ่งที่พวกเขาเจอตรงหน้า และให้เขาได้มีความเห็น และมุมมองกับสิ่งรอบตัว อย่ามองว่าเด็กสมัยนี้ดราม่า หรือชอบทำตัวมีปัญหา แต่ให้มองว่า ถ้าปัญหาอยู่ตรงหน้า แล้วเขาไม่ตั้งคำถาม สังคมและประเทศชาติ จะพัฒนา ก้าวหน้าไปจากความรู้ชุดเดิมได้อย่างไร?



6) จงเชื่ออย่างหนึ่งครับว่า "เป็นครู ก็บ้งได้ ผิดได้ พลาดได้ และก็รับฟังเสียงของลูกศิษย์ได้เสมอ" อย่าเอาวัยวุฒิ คุณวุฒิตัวเองมาข่ม หรือมายืนยันกับเด็กว่าฉันต้องถูกเสมอ เพราะพระพุทธเจ้าก็สอนหลักกาลามสูตร 10 ประการ "ครู" เองก็ผิดได้ อย่าเชื่อเพียงเพราะผู้รู้นั้นบอกมา แต่ให้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้วจึงเชื่อ จึงเห็นว่าถูก ครูพลาดก็บอกว่าพลาด ยอมรับ และทำให้ถูกต้องได้เสมอครับ ไม่ได้เสียเกียรติของความเป็นครูลงไปเลย และทำให้ครูดูน่ารัก ที่รับฟังและพร้อมเปลี่ยนแปลงสู่ตรรกะที่ถูกต้องเพื่อพวกเขาด้วยครับ


เอ...เด็กทุกวันนี้ เขาเรียนรู้ ในชุดความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นตรรกะที่เป็นประโยชน์กับเขา ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมจริงๆหรือเปล่านะ?!?


อย่าว่าแต่เด็กงงเฉลยจากครู เราว่าผู้ใหญ่หลายคนก็งงครับ


ขณะเดียวกัน คุณครูยังได้อธิบายถึงเฉลยข้อสอบดังกล่าวด้วย เหตุผลที่ตอบ "ข.ฝึกว่ายน้ำให้เป็น" ทั้งที่ ก.สวมเสื้อชูชีพ ก็เป็นคำตอบที่ถูกเช่นกันนั้น แต่คำถามนั้น ถามว่า "สำคัญที่สุด" นั่นเพราะว่า การฝึกว่ายน้ำให้เป็นเป็นการเพิ่มทักษะความปลอดภัยให้มากขึ้น จึงเฉลยว่าเป็น ข. และหากปฏิบัติร่วมกันทั้งการฝึกว่ายน้ำให้เป็น และสวมเสื้อชูชีพ ก็จะยิ่งทำให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ครูเน้นคำว่าสำคัญที่สุด



ด้าน ชาวเน็ตได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นโดยมองว่า "บางเรื่องก็ไม่ควรเอามาตั้งคำถามที่ต้องตอบแค่ข้อเดียว เหมือน ถ้าร้อนควรดับร้อนวิธีใดดีที่สุด ก.ดื่มเครื่องดื่มเย็น ๆ ข.อาบน้ำ ค.ใช้ผ้าเย็น ง.เข้าห้องแอร์ แต่ละคนมีวิธีดับร้อนต่างกัน เหมือนในโจทย์แต่ละคนมีวิธีต่างกัน พอเอามาตั้งเป็นโจทย์คำถามคือพัง แต่ที่พังจริง ๆ คือ มีอารมณ์ให้ไปเตะบอล อันนั้นไม่ใช้แค่ตรรกะแย่ ตรรกะวิบัติมาก ๆ เลยด้วย"ขณะที่ อีกรายมองว่า "ข้อแรกตอบถูกแล้ว ต่อให้ว่ายน้ำเป็นมันก็ยังเป็นตะคริวได้ แต่ถ้าใส่เสื้อชูชีพจะเป็นตะคริวแค่ไหนก็ไม่จม ถ้าหากทุกคนที่ขึ้นเรือต้องว่ายน้ำแบบนี้ พวกสายการบินคงรับพนักงานเฉพาะคนที่บินเองได้ไปละ ส่วนอีกข้อถ้าเกิดไฟไหม้หรือเกิดเหตุไฟดับขึ้น คนออกข้อสอบ คงตายคนแรกแน่ๆ มารอส่งแฟ็กแบบนี้"


ส่วนผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ระบุว่าทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านเซฟตี้ ให้ความเห็นว่า "เสื้อชูชีพสำคัญสุด เพราะต่อให้คุณว่ายน้ำเป็น แต่ถ้าเรือไปล่มกลางทะเล คุณจะว่ายไปไหน? ว่ายไปสักพักก็หมดแรง จม ถ้าใส่เสื้อชูชีพ นอกจากช่วยให้ไม่จม ทุ้นแรง ยังช่วยเก็บความอบอุ่นได้ระดับหนึง แล้วเวลาเรือล่ม เขาจะให้ลอยคออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ เพราะจุดนั้น rescue จะเข้าไป มันเป็นจุดใหญ่ที่เขาตรวจจากระบบได้"






☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook