เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » 5 ขั้นตอน กระตุ้นทักษะสมอง ลดปัญหาอ่าน-เขียนไม่ได้ สมาธิสั้น

5 ขั้นตอน กระตุ้นทักษะสมอง ลดปัญหาอ่าน-เขียนไม่ได้ สมาธิสั้น

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 18 ม.ค. 2560 11:59:48 น. เข้าชม 166534 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
5 ขั้นตอน กระตุ้นทักษะสมอง ลดปัญหาอ่าน-เขียนไม่ได้ สมาธิสั้น
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
5 ขั้นตอน กระตุ้นทักษะสมอง ลดปัญหาอ่าน-เขียนไม่ได้ สมาธิสั้น
5 ขั้นตอน กระตุ้นทักษะสมอง ลดปัญหาอ่าน-เขียนไม่ได้ สมาธิสั้น

นพ.อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์เด็กและเยาวชน กล่าวในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้กิจกรรมดนตรี เพื่อกระตุ้นทักษะสมอง EF” ให้กับครูปฐมวัยจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในโครงการสร้างเสริมศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัย (COACT) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ว่า Executive Functions หรือ EF คือหลักประกันในเรื่องความสำเร็จในชีวิต การมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การมีสุขภาพที่ดีและการศึกษา ส่วนการใช้กิจกรรมดนตรีในการพัฒนาทักษะทางสมอง ตามแนวคิด Communicative Musicality ที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ในการใช้จังหวะ เสียงสูงต่ำและการเคลื่อนไหวร่างกายในการสื่อสารกับผู้อื่นที่มีมาตั้งแต่แรกคลอดจนถึงก่อนที่เด็กจะพูดได้ และสามารถพัฒนาให้เกิดเป็นทักษะการสื่อสาร โดยเฉพาะการใช้ดนตรีจะไปเชื่อมกับการพัฒนาทักษะในการอ่านและการพูดได้

นพ.อุดม กล่าวต่อว่า การใช้จังหวะดนตรีเพื่อการพัฒนาทักษะสมอง มีลำดับการพัฒนา 5 ขั้นตอน ได้แก่

1) สร้าง Scent of Rhythm เช่น การให้เด็กตีกลองเข้ากับจังหวะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจสามารถคิดและสร้างจังหวะดนตรีของตนเองได้

2) สร้าง Self Control เป็นการฝึกการควบคุมตนเอง ด้วยการกำหนดการตีเสียงดัง-เบา ช้า-เร็ว หยุด-ไป

3) สร้าง Inhibitory Control ช่วยในการควบคุมร่างกาย อารมณ์ การแสดงออก การควบคุมตัวเราให้จดจ่ออยู่กับงานที่ทำ ไม่วอกแวกไปกับสิ่งรบกวน

4) สร้าง Attention & Working Memory Capacity ความสามารถในการจำและใช้ประโยชน์จากข้อมูล ความสามารถในการรับรู้ ปรับปรุงข้อมูลอยู่เสมอ และ

5) สร้าง Mental Flexibility & Growth Mindset มีความยืดหยุ่น ทบทวนความคิด มีการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งวิธีการและเป้าหมาย

“ความรู้ของผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย ต้องทันต่อข้อมูลความรู้ตลอดเวลาว่าเกิดอะไรขึ้นในโลกใบนี้ เพราะความรู้หมดอายุเป็น หากจะดึงดันเดินต่อไปในแบบเดิม จะทำให้ทุกอย่างเลวร้าย ดังนั้น Communicative Musicality สามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาของประเทศได้ โดยวัดได้จากเด็กที่มีปัญหาเรื่องจังหวะจะมีปัญหาเรื่องการอ่านเสมอ หรือเด็กที่ไม่สามารถฟัง ติดตามและเล่นจังหวะให้สอดคล้องกับคนอื่นได้ จะมีปัญหาเรื่องสมาธิและเกิดปัญหาในการเรียนรู้ การสื่อสาร และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นตามมา โดยเฉพาะเด็กสมาธิสั้นจะพบปัญหานี้มาก ฉะนั้น จะต้องทำให้สังคมรับรู้ ทักษะที่จำเป็นของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ที่ทั่วโลกต้องการตั้งแต่ปฐมวัย โดยตนจะทำคู่มือการใช้กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสมองออกมาเผยแพร่ ทั้งนี้ ครู พี่เลี้ยงเด็ก หรือผู้ที่จะนำไปใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจก่อนว่าการใช้ดนตรีเพื่อพัฒนาเด็ก ไม่ใช่การสอนดนตรีเด็ก ปัญหาที่ผ่านมาคือครูที่สอนเด็กไม่เคยทำความเข้าใจในการใช้ดนตรีด้วยเหตุผลที่ไม่ใช่เรื่องดนตรี ในทางการแพทย์ ใช้ดนตรีบำบัดโรค และตอบโจทย์ได้ว่าดนตรีรักษาโรคอะไรได้บ้าง เช่นกันการนำดนตรีมาใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการ ไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง จุดต่างถ้าสอนดนตรีผลลัพธ์คือความสามารถทางดนตรี เล่นดนตรีไพเราะ จังหวะแม่น รู้จักเพลง ถูกต้องตรงตามคีย์ ส่วนดนตรีเพื่อพัฒนาการผลลัพธ์คือพัฒนาการเด็ก ไม่สนใจเรื่องผลของดนตรี ซึ่งเด็กอาจจะเล่นดนตรีไม่เป็นเลยก็ได้ โดยกิจกรรมดนตรีที่นำมาใช้เกี่ยวพันกับสมองของมนุษย์ตรงไหนบ้าง โดยจากการวิจัยจะเริ่มกิจกรรมครั้งละ 20 นาทีถึง 40 นาที และสามารถทำได้ทุกวัน ซึ่งต้องดูที่ตัวเด็กและการจัดระบบ แต่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง” นพ.อุดม กล่าว

รศ.ดร.จุฑามาศ โชติบาง ผู้จัดการโครงการ COACT กล่าวว่า โครงการเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องดังกล่าวนี้ ให้แก่ครูปฐมวัยจากพื้นที่เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของโครงการ จำนวน 160 พื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการพัฒนาทักษะสมอง EF โดยเฉพาะการใช้กิจกรรมดนตรี ซึ่งเป็นความสามารถพื้นฐานของมนุษย์ในการใช้จังหวะ เสียงสูงต่ำ และการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ ทั้งการพูด การแสดง และดนตรี ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นและเพื่อการกระตุ้นทักษะสมองของเด็กปฐมวัยให้ดียิ่งขึ้น

ด้านนางสุทธินันท์ สมสุนันท์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร จ.เชียงราย กล่าวว่า โดยปกติการใช้ดนตรีกับเด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก จากการอบรมการใช้ดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสมองจึงก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้น สามารถใช้กิจกรรมดนตรีในการบูรณาการการจัดหลักสูตรเพื่อกระตุ้นทักษะสมองของเด็กได้ โดยนำผลของการอบรมมาปรับให้สอดคล้องกับวัยของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร ทั้งกระบวนการขั้นตอนและอุปกรณ์ที่จะต้องนำมาใช้ให้เหมาะสม

“ดนตรีสามารถดึงความสนใจของเด็กได้เป็นอย่างดี ทำให้มีสมาธิในการเรียนรู้ อีกทั้งสามารถสอดแทรกในเรื่องต่างๆได้ เช่นทักษะการเรียนรู้ พฤติกรรมของเด็ก การรู้จักแบ่งปัน จึงเป็นความท้าทายของครูที่จะทำให้เด็กรู้จังหวะ เสียงสูงต่ำ และการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ” นางสุทธินันท์ กล่าว

 

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook