โพสต์โดย : Admin เมื่อ 18 เม.ย. 2565 09:06:13 น. เข้าชม 166501 ครั้ง
เมื่อพูดถึงการเล่นเกมแล้ว คำว่า “ปัญหาเด็กติดเกม” มักจะเป็นสิ่งที่ตามมา ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นปัญหาในสังคมไทยจริงๆ เพราะมีวัยรุ่นไทยกว่า 2.7 ล้านคนที่เข้าข่ายติดเกมอย่างจริงจัง แต่เราเชื่อว่าเกมเป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่หากเล่นให้เป็นประโยชน์มันก็จะเป็นประโยชน์ แต่หากเล่นให้เป็นโทษก็สามารถเป็นโทษได้เช่นกัน และพ่อแม่ในฐานะบุคคลที่ใกล้ชิดที่สุด ก็ควรจะเป็นคนที่คอยสอดส่องดูแลบุตรหลานให้เล่นเกมได้อย่างถูกวิธี
“เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สอบถามและเก็บเกี่ยวมาจากคนที่เล่นเกมและจากตัวเองที่เคยเป็นเด็กติดเกมคนหนึ่งเช่นกัน”
เกมออนไลน์เกมแรกๆ ที่เล่น ก็คือ Ragnarok เป็นเกมที่มีภาษาอังกฤษเยอะมาก ไม่ว่าจะ items (สิ่งของ) ต่างๆ ในเกม รวมถึงสิ่งที่ NPC (non player charecter = ตัวละครในเกมที่ไม่ใช้คนเล่น ถูกเซ็ตขึ้นมาในเกมอยู่แล้ว) พูด หรือการทำ quest (ภารกิจ) ต่างๆ ในเกม ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษ การเล่นเกมออนไลน์เลยทำให้เราต้องขวนขวายและเปิดดิก เพื่อพยายามจะเข้าใจสิ่งต่างๆ นี่เลยถือเป็นก้าวแรกที่ทำให้เราอยากรู้คำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น อื่นๆแนะนำเข้าเว็บ คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี
อีกเกมที่ต้องใช้ทักษะการกดแป้นพิมพ์มากที่สุดก็คือ เกม Audition เพราะเป็นเกมที่ต้องกดเครื่องหมายลูกศรให้ทันเพื่อจะได้คะแนน แถมบางเพลงที่ยากๆ ก็ต้องกดไวมาก ทำให้การเล่นเกมนี้ฝึกให้เราสามารถพิมพ์แบบไม่ต้องมองแป้นพิมพ์ได้เลย (เรียกว่าหลับตากดก็ยังได้)
เกมบางเกมสามารถเล่นได้มากกว่าหนึ่งคน รวมถึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ด้วย นี่จึงเป็นการฝึกการทำงานเป็นทีม และฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ มีแนวทางที่ชัดเจน ถือเป็นการฝึกทีมเวิร์ค (Teamwork) ที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับวัยเด็กเลย แล้วรู้หรือไม่? ว่าในประเทศไทยเองก็มีแฟนเพจเจ้าหนึ่งที่มารวมตัวกันได้เพราะการเล่นเกม จนตอนนี้โด่งดังมียอดไลค์เป็นหลักล้านแล้ว
นอกจากเกมออนไลน์ต่างๆ ที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีเกมอีกมากมายที่เป็นการฝึกไหวพริบ พัฒนาสมอง ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เกมซูโดะกุ (sudoku = เกมปริศนาตัวเลข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถวและแต่ละหลักตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน) ถือเป็นเกมฝึกไหวพริบที่ถึงกับมีการแข่งขันอย่างจริงจัง อย่างตัวเราเองก็เคยร่วมแข่งซูโดกุระดับโรงเรียนเช่นกัน และรู้สึกว่าเกมนี้ฝึกให้เรามีสมาธิ รวมถึงฝึกสมองให้คิดวิธีการแก้ปัญหาได้หลายแนวทางดี
หลายครั้งที่ได้ความรู้จากการเล่นเกม ยกตัวอย่างเช่น เกมปังย่า (Pangya = เกมตีกอล์ฟ) หรือฟีฟ่า (Fifa = เกมฟุตบอล) เมื่อเล่นเกมเหล่านี้ก็ทำให้เราเรียนรู้วิธีการเล่นกีฬาพวกนี้ในชีวิตจริงไปด้วย เราเข้าใจการนับคะแนน เทคนิคการเล่น รวมถึงทำให้เราดูกีฬาในชีวิตจริงเป็น เวลาคุยกับผู้ชายเรื่องฟุตบอลก็คุยรู้เรื่อง (เห้ย! อันนี้ไม่เกี่ยว #แต่ก็ถือเป็นประโยชน์ได้เหมือนกันแฮะ)
การสร้างมิตรภาพกับคนในเกมเป็นเรื่องที่ต้องระวังและผู้ปกครองควรช่วยดูแลสอดส่อง แต่สำหรับมิตรภาพกับคนที่รู้จักกันอยู่แล้วนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายมากๆ จากการเล่นเกม มีงานวิจัยกล่าวว่าหากพ่อแม่เล่นเกมกับลูกๆ จะช่วยสร้างมิตรภาพในครอบครัวในแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และลูกๆ เองก็จะรู้สึกดีที่พ่อแม่สนใจในสิ่งเดียวกับที่เขาสนใจ และจะเป็นหนทางที่ดีที่ลูกๆ จะยอมเปิดใจคุยเรื่องอื่นๆ กับพ่อแม่ด้วย “It’s cool to see my parents interested in things I’m interested in also,”
อีกเกมที่ทุกคนน่าจะรู้จักและเคยเล่นกัน ก็คือ The Sims (เกมสร้างบ้านและสมมติตัวละครจริงขึ้นมาในเกม) ในเกมนี้เราทุกคนจะต้องสร้างตัวละครของตัวเอง ต้องจัดแต่งทรงผม สีผิว เสื้อผ้าที่จะใส่ รวมถึงอุปนิสัยใจคอของตัวละคร และสิ่งที่เรารักที่สุดตอนเล่นซิมส์ก็คือ การสร้างบ้าน!! ตอนนี้แหละที่เราจะใช้เงินที่กดสูตรโกงมาอย่างไม่อั้น สร้างบ้านให้สวยที่สุดเสมือนกับว่าตัวเองเป็นสถาปนิคชื่อดัง มันเป็นการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดในตอนเด็กเลย บางครั้งเราก็ถึงขั้นต้องหาตัวอย่างบ้านจริงๆ เพื่อมาสร้างบ้านในเกมด้วยซ้ำ
ข้อนี้หลายคนอาจจะคิดว่า ‘หืมมม จริงหรือ?’ เราเองก็จะไม่เถียงว่าเป็นหนึ่งคนที่เคยติดเกมอย่างบ้าคลั่ง เรียกว่าแบ่งเวลาไม่ถูกเลย แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงนั้นมาได้ก็รู้สึกว่าการเล่นเกมก็เป็นการใช้เวลาได้อย่างมีประโยชน์เช่นกัน เราอาจจะเล่นเกมซูโดะกุ (sudoku) ในเวลาว่างระหว่างขึ้นรถไฟฟ้า หรือถ้าจะเล่นเกมที่ฝึกสมอง ก็มีเกม Peak เป็นตัวอย่างให้ได้ลองเล่นกัน เป็นเกมที่จะช่วยพัฒนาทักษะทั้ง EQ และ IQ (ไม่ได้ค่าโฆษณานะจ๊ะไม่ต้องสงสัยกัน)
แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเกมก็เป็นเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อเสียของมันก็นับเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่งได้เลย และยังไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างแท้จริงในประเทศไทยด้วย เคยมีรายการ Let me grow ที่ได้จัดค่ายแก้ปัญหาเด็กติดเกม โดยได้เลือกเด็กติดเกมมาจำนวน 61 คน จากพันกว่าคน เป็นเด็กติดเกมขึ้นรุนแรงมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กติดเกมได้มีโอกาสทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน
โดย รศ.นพ. ชาญวิทย์ พรนภดล (หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ได้กล่าวไว้ว่า “จะแก้ปัญหาได้ก็ต้องทำความเข้าใจก่อน เพราะต้นเหตุของการติดเกมไม่เหมือนกัน ปัญหาการติดเกมเป็นเหมือนยอดของภูเขาน้ำแข็ง สิ่งที่เราเห็นคือเด็กที่นั่งเล่นเกมไม่ควบคุมเวลา แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่คือต้นตอของปัญหาทั้งหมด พอมีปัญหาเด็กเลยแสวงหาที่ที่เขารู้สึกปลอดภัย นั่นก็คือเกม เขาจริงใช้เกมเป็นทางออก ซึ่งในการแก้ปัญหา พ่อแม่ควรจะรู้ให้ได้ก่อนว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เขามีปัญหาอะไรถึงต้องใช้เกมเป็นทางออก”
อ้างอิงข้อมูลจาก : รายการ Let me grow , www.wsj.com