แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน
แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี
กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
5 คำแนะนำป้องกันครูจากการเป็นหนี้ปัญหาหนี้สินของครูที่รุงรังจนต้องขอให้....
5 คำแนะนำป้องกันครูจากการเป็นหนี้ปัญหาหนี้สินของครูที่รุงรังจนต้องขอให้....
5คำแนะนำป้องกันครูจากการเป็นหนี้
ทุกๆปีเราคงจะได้ยินข่าวกันตลอดเรื่องของปัญหาหนี้สินของครูที่รุงรังจนต้องขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมหลายต่อหลายฝ่ายเกิดคำถามและข้อสงสัยว่า เหตุใดอาชีพครูถึงมีหนี้สินมากมายทั้งในระบบและนอกระบบ โดยคำตอบนั้นมีหลากหลายสาเหตุมากๆ แต่วันนี้เราขอสรุปแนวทางป้องกันปัญหาหนี้สินของครู โดยเชื่อว่าหากปฏิบัติตาม 5 ข้อนี้ได้ อย่างน้อยๆก็จะไม่ประสบปัญหาการเป็นหนี้อย่างแน่นอน
1.ไม่กู้สหกรณ์ครู - ช.พ.ค.
ปัญหาการเป็นหนี้สหกรณ์ครูดูจะเป็นปัญหาที่น่าหนักใจที่สุดสำหรับบรรดาคุณครูหลายคน เนื่องจากสหกรณ์ครูนั้นเรียกได้ว่ากู้ง่าย ดอกเบี้ยต่ำ และใช้คนค้ำประกันน้อย อีกทั้งสามารถกู้ได้โดยไม่ต้องตรวจเครดิตบูโรก่อน เรียกได้ว่าครูที่เพิ่งถูกบรรจุจบใหม่ไม่นานก็มีเครดิตที่สามารถกู้เงินได้หลักแสน ถึงหลักล้าน และกลายเป็นหนี้สหกรณ์กันตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานเลยทีเดียว
นอกจากการกู้สหกรณ์ครูแล้ว การกู้ ช.พ.ค. จากธนาคารออมสินก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มพูนการเป็นหนี้ของเหล่าครูทั้งหลายด้วย แม้วัตถุประสงค์ของสินเชื่อ ช.พ.ค. นั้น จะเป็นไปเพื่อการศึกษา ค่าพยาบาล หรือการลงทุนประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ แต่มีคนจำนวนมากที่กู้เงินโดยไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และด้วยนิสัยที่เห็นคนอื่นกู้เลยกู้บ้างจึงเกิดปัญหาหนี้สินพันกัน ดังนั้นคำแนะนำที่ดีที่สุดของการป้องกันการเป็นหนี้ในอันดับแรก คือการไม่ติดกับดักเงินกู้
2.ไม่ค้ำประกันให้คนอื่น
ข้อถัดมาหลายคนประสบปัญหาการเป็นหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากตัวเอง บางคนใช้วิธีการผลัดค้ำประกันให้ผู้อื่น และเมื่อถึงเวลาหากผู้กู้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ (หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าเบี้ยวหนี้) ไม่มีเงินจ่าย สหกรณ์ผู้ให้กู้ก็มักจะมาเรียกจากผู้ค้ำประกันก่อน ซึ่งหลายครั้งกลายเป็นว่าเงินที่ผู้ค้ำประกันเฝ้าเก็บหอมรอมริบเงินนั้น ถูกบังคับนำไปจ่ายหนี้ให้กับผู้กู้
เพื่อป้องกันปัญหาการโกงผู้ค้ำประกัน สิ่งที่ครูทั้งหลายควรจะทำก็คือ การไม่เข้าไปเป็นผู้ค้ำประกันให้กับใคร แม้ว่าจะสนิทกันแค่ไหนก็ตาม เพราะหากมีปัญหาผิดนัดชำระหนี้ ตัวผู้ค้ำประกันจะเป็นฝ่ายที่ซวยที่สุด
3.ใช้อินเตอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์
ในวันที่โลกเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ต ข้อมูลและความรู้ต่างๆสามารถค้นหาได้ในทันที มีวิธีการมากมายที่จะช่วยลดทอนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้มากที่สุดด้วยการใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ อย่างเช่นหากต้องการซื้อสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค หรือสินค้าที่มีความจำเป็นในราคาประหยัดกว่าเดิม เดี๋ยวนี้มีเว็บไซต์ที่มอบคูปองส่วนลดสินค้ามากมายไว้ให้บริการ อย่างเช่น www.saleduck.co.th โดยคุณครูสามารถค้นหาส่วนลดสิ่งของมากมาย อาทิ อาหารและของใช้ต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน รวมทั้ง
สามารถค้นหาเครื่องเขียนราคาถูกได้ที่นี่
4. ลดความอยากได้อยากมี ไม่ใช้เงินเกินตัว
ความฟุ้งเฟ้อต่างๆและความอยากได้อยากมีเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บรรดาครูหลายคนตัดสินใจกู้ อย่างเช่น ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน ซื้อรถ หรือซื้อโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากเห็นบรรดาเพื่อนครูทั้งหลายมีกัน จึงอยากมีบ้าง ไม่นับรวมเทรนด์รุ่นใหม่ที่เดี๋ยวนี้มีการกู้เพื่อไปทำศัลยกรรมอีกด้วย การกู้ยืมโดยไม่มีความจำเป็นเและไม่ได้คำนึงถึงสถานะการเงินของตัวเองว่ามีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยแค่ไหน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ครูมีหนี้สินผูกพันมากมาย ทางที่ดีที่สุดคือต้องรู้จักประมาณตนเอง ไม่ใช้เงินเกินตัว
5.รู้จักวางแผนการเงิน
ท้ายที่สุดเป็นคำแนะนำทั้งสำหรับเหล่าคุณครูที่กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินหรือยังไม่มีปัญหา แต่ต้องการเตรียมตัวสำหรับวันข้างหน้า การวางแผนการเงิน เช่น การทำรายรับรายจ่าย การวางแผนการออมเงิน การวางแผนลงทุน รวมถึงการวางแผนภาษีจะช่วยให้ตัวเองเตรียมความพร้อมและนำชีวิตไปสู่ความมั่นคงทางการเงินในอนาคต รวมถึงการเกษียณอายุการทำงานอย่างไร้ปัญหา หากไม่รู้ควรเริ่มต้นหรือเตรียมตัวอย่างไร สามารถหาเอกสารที่น่าสนใจอ่านได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้อีกด้วย