เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » บทความด้านการศึกษา » ใบประกอบวิชาชีพครูคืออะไร-ทำไมต้องมี

ใบประกอบวิชาชีพครูคืออะไร-ทำไมต้องมี

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 20 ม.ค. 2560 11:47:35 น. เข้าชม 166578 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ใบประกอบวิชาชีพครูคืออะไร-ทำไมต้องมี
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : บทความด้านการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ใบประกอบวิชาชีพครูคืออะไร-ทำไมต้องมี
ใบประกอบวิชาชีพครูคืออะไร-ทำไมต้องมี

ใบประกอบวิชาชีพครูคืออะไร-ทำไมต้องมี

                       ใบประกอบวิชาชีพครูคืออะไ

ข่าวสพฐ.และคุรุสภาเตรียมเปิดทางสะดวกให้คนเรียนจบในสาขาที่ขาดแคลนมาสมัครสอบบรรจุเป็นครูได้โดยยังไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพได้นั้น คงจะเป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้ายของคนที่ต้องการอยากประกอบวิชาชีพครู

ข่าวดีคือ ผู้ที่ไม่ได้จบสายครูมาก็จะมีโอกาสได้เข้ามาเป็น ส่วนข่าวร้ายแบบตรง ๆ คงจะเป็นบรรดานักศึกษาที่เรียนสายครูมาโดยตรง


เพราะปกติการสอบบรรจุครูแต่ละครั้งก็แทบรากเลือดอยู่แล้ว จนถึงขนาดมีการโกงกันด้วยวิธีสารพัด ยิ่งพอมาเจอมาตรการให้คนนอกเข้ามาแข่งขันได้อีกก็คงอาเจียนออกมาเป็นเลือดกันเป็นแถว

อย่างไรก็ตามก็ใช่ว่าโอกาสของนักศึกษาครูจะมืดมิดลง เพราะในวิกฤติครั้งนี้หากเราเพิ่มทักษะความรู้ เพิ่มความพร้อมให้กับตนเองเพื่อวางเป้าหมายในการเป็นครูที่ดี โอกาสก็จะเปิดกว้างให้กับเรามากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่เรียนจบแล้วรับปริญญาออกมาสอบบรรจุแข่งขันเท่านั้น

ลองมาดูว่าใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คืออะไร และมีขั้นตอนในการขออนุญาตอย่างไร...

การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ หลักฐานการอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ  .๒๕๔๖  ทำให้มีสิทธิ  ในการประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาได้ ซึ่งได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๖ ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ยกเว้นผู้มิได้ประกอบวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน บุคลากรทางการศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาในศูนย์การเรียนผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา

ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมดังกล่าวโดยไม่ได้รับใบอนุญาต หรือแสดงด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ รวมทั้งสถานศึกษาที่รับผู้มิได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๘ และ ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖

ผู้ที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งของรัฐและเอกชนที่จัดการศึกษาปฐมวัยการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา โดยจัดการศึกษา ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่ หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษารวมทั้งหน่วยการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หมายถึง ใบอนุญาตที่ออกให้แก่ครูซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาระดับปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งครูอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครู หรือจะประกอบวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผู้มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้   

          - มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
          - มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง 
          - ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่าน
            เกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

     ***  ผู้มีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งครูอยู่ก่อนที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 จะประกาศใช้ สามารถขอขึ้นทะเบียนได้เลยโดยแสดงหลักฐานการบรรจุแต่งตั้งครู คือ ก.พ.7 หรือสมุดประวัติข้าราชการ หรือสมุดประจำตัวครูเอกชน ทั้งนี้คือเป็นครูก่อนวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2546 และไม่มีการลาออกจากการเป็นครูก่อน วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2546 

     ***  ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาอื่นๆ มีหลักฐานในการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้ครู ไม่เกินวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2549 คือเวลา 3 ปีหลังจากที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ประกาศใช้

2. ไม่มีลักษณะต้องห้าม
          - เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
          - เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
          - เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

3. คุณสมบัติตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้

          1.ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
          2.การพัฒนาหลักสูตร
          3.การจัดการเรียนรู้
          4.จิตวิทยาสำหรับครู
          5.การวัดและประเมินผลการศึกษา
          6.การบริหารจัดการในห้องเรียน
          7.การวิจัยทางการศึกษา
          8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          9.ความเป็นครู

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ โดยผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขคณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้

          1.การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
          2.การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน เช่น ผู้ช่วยครูใหญ่ ครูใหญ่ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ใหญ่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา 

การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา   
1. คุณสมบัติ
          - มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
          - มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง 
          - ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่าน
            เกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

      ***  ผู้มีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ก่อนที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 จะประกาศใช้ สามารถขอขึ้นทะเบียนได้เลยโดยแสดงหลักฐานการบรรจุแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษา คือ ก.พ.7 หรือสมุดประวัติข้าราชการ หรือสมุดประจำตัวครูเอกชน ทั้งนี้คือเป็นผู้บริหารสถานศึกษาก่อนวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2546 และไม่มีการลาออกจากการเป็นผู้บริหารสถานศึกษาก่อน วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2546

      ***  ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาอื่นๆ มีหลักฐานในการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ไม่เกินวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2549 คือเวลา 3 ปีหลังจากที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ประกาศใช้

2. ไม่มีลักษณะต้องห้าม
       - เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
       - เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
       - เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

3. คุณสมบัติตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้

       1.หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
       2.นโยบายและการวางแผนการศึกษา
       3.การบริหารด้านวิชาการ
       4.การบริหารด้านธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่
       5.การบริหารงานบุคคล
       6.การบริหารกิจการนักเรียน
       7.การประกันคุณภาพการศึกษา
       8.การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
       9.การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน
       10.คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
    
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ดังนี้

       1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
       2. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าหมวด หรือหัวหน้า
           สาย หรือหัวหน้างาน หรือตำแหน่งอื่นๆในสถานศึกษามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี    

4. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อยู่ก่อนวันยื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา  

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา หมายถึง ใบอนุญาตที่ออกให้แก่ ผู้บริหารการศึกษาซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เช่น รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  
การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
1. คุณสมบัติ
          - มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
          - มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง 
          - ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่าน
            เกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภา กำหนด

      ***  ผู้มีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาอยู่ก่อนที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 จะประกาศใช้ สามารถขอขึ้นทะเบียนได้เลยโดยแสดงหลักฐานการบรรจุแต่งตั้งผู้บริหารการศึกษา คือ ก.พ.7 หรือสมุดประวัติข้าราชการ ทั้งนี้คือเป็นผู้บริหารการศึกษาก่อนวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2546 และไม่มีการลาออกจากการเป็นผู้บริหารการศึกษาก่อน วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2546 

      ***  ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาอื่นๆ มีหลักฐานในการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ไม่เกินวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2549 คือเวลา 3 ปีหลังจากที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ประกาศใช้

2. ไม่มีลักษณะต้องห้าม
          - เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
          - เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
          - เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

3. คุณสมบัติตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้

          1.หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
          2.นโยบายและการวางแผนการศึกษา
          3.การบริหารจัดการการศึกษา
          4.การบริหารทรัพยากร
          5.การประกันคุณภาพการศึกษา
          6.การนิเทศการศึกษา
          7.การพัฒนาหลักสูตร
          8.การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
          9.การวิจัยทางการศึกษา
          10.คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ดังนี้

          1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี หรือ
          2. มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
          3. มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
          4. มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือผู้
              อำนวยการกลุ่ม หรือเทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  หรือ
          5. มีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการสอนและมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาหรือบุคลากรทางการ
              ศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือ บุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่า



ที่มา : http://www.nsw.ac.th/news-detail_83_7262


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ บทความด้านการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : บทความด้านการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook