เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » บทความด้านการศึกษา » 10 ขั้นตอนในการหลีกเลี่ยงความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอน

10 ขั้นตอนในการหลีกเลี่ยงความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอน

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 25 มี.ค. 2564 11:17:58 น. เข้าชม 166509 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
10 ขั้นตอนในการหลีกเลี่ยงความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอน
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : บทความด้านการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
10 ขั้นตอนในการหลีกเลี่ยงความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอน
ความเหนื่อยหน่ายนี้นับเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ทำให้ครูผู้สอนดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร รู้สึกหมดไฟ

เพราะครูผู้สอนไม่ใช่ผู้วิเศษ และก็ไม่ได้เป็นหุ่นยนต์ ทำให้ในการเรียนการสอนอาจมีทั้งเรื่องที่มีความสุขและน่าพึงพอใจ แต่บางครั้งก็มีเรื่องแย่ ๆ ที่น่าเหนื่อยหน่ายใจเหมือนกัน ซึ่งความเหนื่อยหนื่อยหน่ายใจนี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งจากความกดดันในภาระงานโดยตรงที่ต้องทำงานร่วมกับนักเรียนและเพื่อนร่วมงานที่หลากหลาย หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อตัวครูผู้สอน เช่น ปัญหาครอบครัว หรือ ปัญหาหนี้สิน เป็นต้น

ความเหนื่อยหน่ายนี้นับเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ทำให้ครูผู้สอนดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร รู้สึกหมดไฟ และอาจทำให้รู้สึกว่าตัวเองนั้นไม่เหมาะสมในงานด้านนี้จนนำไปสู่ความทัศนคติเชิงลบกับอาชีพ จนนำไปสู่ความไม่อยากทำงานหรือลาออกได้

 

ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกนี้  Ben Johnson ได้เขียนบทความแนะนำถึง 10 ขั้นตอนที่ช่วยให้ครูผู้สอนหลีกเลี่ยงความหน่ายเหนื่อยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งลงในเว็บไซต์ edutopia.org เว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการศึกษาของมูลนิธิการศึกษาจอร์จ ลูคัส ซึ่งน่าจะช่วยให้ครูผู้สอนทุกท่านมีความรู้สึกต่องานที่ทำในทิศทางที่ดีขึ้นได้

 

ขั้นตอนที่ 1 ขอให้สนุกกับนักเรียนทุกวัน

ครูผู้สอนสามารถแบ่งปันเรื่องตลก เรื่องสั้น ปริศนาของเล่นลับสมอง ฯลฯ กับนักเรียนเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้นักเรียนและร่วมถึงตัวครูผู้สอนเองนั้น เกิดความสนใจ และสามารถดึงดูดใจให้เข้าสู่บทเรียนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และทำให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียพลังมากเกินไปกับการนำเข้าสู่บทเรียน

 

ขั้นตอนที่ 2 ดูแลสุขภาพ

เรื่องของสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้น ล้วนมีผลต่อการตอบสนองทางอารมณ์ของเราทุกคน ดังนั้นการดูแลตัวเองในเรื่องต่าง ๆ เช่น การพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ขับถ่ายเป็นเวลา และมีเวลาในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งถ้าครูผู้สอนปฏิบัติสิ่งเหล่านี้เป็นกิจวัตร จะช่วยให้ครูผู้สอนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรู้สึกอ่อนเพลียจากการสอนน้อยลง

 

ขั้นตอนที่ 3 เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และแบ่งปันกับนักเรียน

การอ่านหนังสือที่น่าสนใจ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา นั้นช่วยได้มาก ในการผ่อนคลายและเพิ่มพูนความรู้ ซึ่งครูผู้สอนนอกจากจะได้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือตามที่ตัวเองสนใจแล้ว ยังสามารถแบ่งปันสาระความรู้ต่าง ๆ ที่ได้จากการอ่านให้นักเรียนได้อีกด้วย

 

ขั้นตอนที่ 4 ช่วยครูผู้สอนท่านอื่น

ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือเว็บไซต์ที่เป็นชุมนุมออนไลน์ต่าง ๆ ในการแบ่งปันประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนร่วมอาชีพ รวมถึงมีส่วนร่วมในองค์กรวิชาชีพ โดยอาจอาสาเป็นวิทยากรหรือช่วยเหลือในการประชุมเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษากับครูผู้สอนท่านอื่น ๆ ซึ่งการกระทำทั้งหมดนี้นอกจากจะช่วยสร้างเครือข่ายที่ช่วยส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแล้ว ยังช่วยให้ครูผู้สอนรู้สึกมีความสุขใจในฐานะที่เป็นให้อีกด้วย

 

ขั้นตอนที่ 5 ทำให้เป็นวันพิเศษของใครบางคน

ในบางวันครูผู้สอนอาจโทรหาผู้ปกครองและบอกกับพวกเขาว่านักเรียนที่อยู่ในการดูแลของเขานั้นเก่งแค่ไหน พยายามค้นหานักเรียนที่กำลังต่อสู้และมุ่งมั่นกับการเรียน และเติมเต็มพวกเขาด้วยวิธีนี้อย่างจริงใจในสิ่งที่พวกเขาทำได้ดี กล่าวคำชมเชย หรือ มอบของรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับพวกเขา ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความมุ่งมั่นมากขึ้น และมีทัศนคติที่ดีต่อทั้งการเรียนและตัวครูผู้สอน

 

ขั้นตอนที่ 6 ยิ้ม

การยิ้มเป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่ช่วยให้บรรยากาศรอบตัวมีความผ่อนคลาย มันทำให้ทุกอย่างดำเนินการได้ง่ายดายมากขึ้น การฝึกยิ้มกับตัวเองหน้ากระจกนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่ช่วยให้ครูผู้สอนยิ้มได้ ซึ่งบางทีความรู้สึกภายในอาจทำให้เรารู้สึกไม่อยากยิ้ม แต่การพยายามยิ้มให้ได้ แม้ในช่วงเวลาที่เราไม่อยากทำนั้น มันคือสิ่งวิเศษที่ช่วยให้เกิดปาฏิหาริย์ เพราะผู้ที่เรายิ้มให้นั้น ก็จะยิ้มตอบกลับมาให้เราและทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 7 เป็นนักวิทยาศาสตร์

เป็นธรรมดาที่เราทำอะไรซ้ำๆกันแล้ว จะรู้สึกเบื่อหน่าย ดังนั้นแทนที่ครูผู้สอนจะใช้แต่กลยุทธ์หรือรูปแบบการส่งสริมการเรียนรู้แบบเดิมๆ ลองทดลองกลยุทธ์ใหม่ๆ และก้าวไปเป็นผู้เชี่ยวชาญในกลยุทธ์เหล่านั้น ซึ่งครูผู้สอนอาจขอให้นักเรียนช่วย ทำกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง บันทึกผลลัพธ์และแบ่งปันสิ่งที่ได้ในที่ประชุมของโรงเรียน ซึ่งนับเป็นแนวทางที่ดีและน่าสนใจ

 

ขั้นตอนที่ 8 มองหาแง่บวก

การมองแง่บวกในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ แม้ว่าจะไม่ช่วยเปลี่ยนอะไรให้ดีขึ้น แต่ก็ช่วยให้ความรู้สึกของครูผู้สอนดีขึ้นได้ และช่วยให้บรรยากาศโดยรอบนั้นไม่หม่นหมองจนเกินไป เช่น การสอน บางครั้งครูผู้สอนรู้สึกว่ามันยาก แต่แทนที่จะมองแต่ความยาก การมองว่าการสอนที่ยากนั้นก็ไม่ได้มีส่วนแย่ทั้งหมด ก็ทำให้ครูผู้สอนมีกำลังใจที่ดีขึ้นมาได้ เราไม่จำเป็นต้องรู้สึกแย่กับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด การพยายามมองหาสิ่งที่เป็นบวกจะช่วยให้เราเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ย่ำแย่นั้นได้อย่างเหมาะสมและไม่รู้สึกว่าปัญหานั้นใหญ่หลวงจนเกินไป

 

ขั้นตอนที่ 9 ตกแต่งใหม่

ลองปรับเปลี่ยนพื้นที่การทำงาน เช่น สลับกระดานข่าว ย้ายโต๊ะทำงาน ปรับแสง หรือใช้กลิ่นที่คุณชื่นชอบในการบำบัด จะช่วยให้ครูผู้สอนมีความรู้สึกอยากทำงานมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนมุมมองใหม่นอกจากจะช่วยให้ได้ความรู้สึกในบรรยากาศใหม่ ๆ แล้ว ยังเป็นการทำให้พื้นที่นั้นเป็นระเบียบ มีสัดส่วน สะอาดและน่ามองอีกด้วย

 

ขั้นตอนที่ 10 เชื่อมั่นในตัวนักเรียนมากขึ้น

การเชื่อมั่นในตัวของนักเรียน จะช่วยให้ทั้งครูผู้สอนและนักเรียนนั้นมีความเครียดน้อยลง เพราะถ้าเชื่อมั่นในตัวนักเรียน ครูผู้สอนจะไม่ต้องกดดันหรือตรวจสอบการทำงานของนักเรียนมากจนเกินไป ซึ่งนอกจากจะช่วยให้นักเรียนมีพื้นที่ในการทำงานด้วยตัวเองมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้นักเรียนรู้สึกไว้วางใจครูผู้สอนมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นบอกให้นักเรียนรู้ว่าตัวครูผู้สอนจะเชื่อใจพวกเขามากขึ้นและเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเองร่วมกันแบบโครงงาน โดยที่ครูผู้สอนอำนวยความสะดวกและเป็นโค้ช ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามรูปแบบของการศึกษายุคใหม่

 

การจัดการกับปัญหาความเบื่อหน่ายนั้น นอกจากจะช่วยให้ครูผู้สอนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน เพื่อนร่วมงาน หรือ ผู้บังคับบัญชา แม้ว่าความเป็นครูนั้น ถึงเราจะมีความเบื่อหน่ายมากน้อยแค่ไหน ในฐานะครูผู้สอนก็ควรต้องส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนอย่างเต็มศักยภาพโดยไม่ย่อท้อ แต่มันคงจะดีไม่น้อยถ้าความเบื่อหน่ายนั้นถูกบำบัดให้ดีขึ้น เพราะแม้ว่าจะดำเนินการสอนได้เต็มศักยภาพแค่ไหน ความเบื่อหน่ายนั้นก็มีโอกาสที่จะบั่นทอนประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนที่ควรจะเป็นได้ ดังนั้นโปรดใช้แนวทางนี้ และทำให้ตัวเองมีไฟและมุ่งมั่นกับการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอเพื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

เรียบเรียงโดย : นรรัชต์  ฝันเชียร


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ บทความด้านการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : บทความด้านการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook