โพสต์โดย : Admin เมื่อ 20 มิ.ย. 2565 08:49:18 น. เข้าชม 166574 ครั้ง
"ครู" หวั่นถูกลดสถานะจาก "ข้าราชการ" เป็นเพียง "ลูกจ้าง" หลังกมธ.วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ถึงมาตราที่ 93 จากทั้งหมด 110 มาตรา19 มิถุนายน 2565 นายไกรทอง กล้าแข็ง ประธานชมรมครู กทม.ออนไลน์ ให้สัมภาษณ์
“คมชัดลึกออนไลน์” หลังออกแถลงการณ์สถานะความเป็นข้าราชการครูฯ กับพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ว่า ความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ที่อาจสั่นคลอนสถานะความเป็น “ครู” ของข้าราชการครู หรือไม่?จากข่าวความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 นั้น คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… ได้ทำการพิจารณาอภิปรายให้ข้อเสนอแนะในการปรับแก้ในรายมาตราถึงมาตราที่ 93 จากทั้งหมด 110 มาตรา
โดยมีมติรอการพิจารณา และได้มอบให้คณะอนุกรรมาธิการฯ คณะทำงาน หรือผู้แทนสำนักงานกฤษฎีกา นำไปปรับปรุงแก้ไขแล้วนำมาลงมติ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีลงมติในมาตรา 1-13 ยกเว้น มาตรา 4 บทนิยาม ซึ่งให้รอพิจารณาไว้ก่อน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ประชุมมาแล้วจำนวน 33 ครั้ง (วัน)
การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจาราณาต้นแบบมาจากร่าง สคก.เรื่องเสร็จที่ 660/2564 ซึ่งร่าง 660/2564 โดยมาตรา 35 บัญญัติไว้ว่า “ให้มีกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสาหรับ “ครู” และบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีหลักประกันความเป็นข้าราชการหรือความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีสถานะและได้รับสิทธิและประโยชน์เทียบเคียงได้กับข้าราชการ มีความโปร่งใสในการรับบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งได้อย่างเป็นธรรม และได้รับค่าตอบแทนอย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพ รวมตลอดทั้งหลักประกันในการที่ครูจะสามารถดำรงตนและปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 32 มาตรา 33 และมาตรา 34 ได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
"มาตราดังกล่าวนี้เอง เป็นที่น่ากังกลว่า สถานะของ "ครู" หรือ ข้าราชการครูฯ อาจจะมีโอกาสได้ "ลดสถานะ" ให้ด้อยกว่าเดิมที่เป็นอยู่หรือไม่? ก็น่าเป็นห่วงเหมือนกันนะครับ ผมหวั่นข้าราชการครูทุกสังกัดในประเทศไทยอาจจะถูกลดสถานะจาก “ข้าราชการครู” เป็นเพียง “ลูกจ้าง” เท่านั้น เนื่องจากการบัญญัติว่ามีสถานะและได้รับสิทธิและประโยชน์เทียบเคียงได้กับข้าราชการ จึงสงสัยว่าอาจถูกลดสถานะจากราชการเป็นลูกจ้างหรือไม่"
ประธานชมรมครู กทม.ออนไลน์ ตั้งข้อสังเกตอีกว่า การบัญญัติว่ามีสถานะและได้รับสิทธิและประโยชน์เทียบเคียงได้กับข้าราชการ จึงสงสัยว่าอาจถูกลดสถานะจากราชการเป็นลูกจ้างหรือไม่ เนื่องจากให้มีกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับครูฯ แต่ไม่มีคำว่า “สำหรับข้าราชการครูฯ”