เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » องค์กรครูคาใจหวั่นโครงสร้างศธ.รวบอำนาจ "single comand"

องค์กรครูคาใจหวั่นโครงสร้างศธ.รวบอำนาจ "single comand"

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 4 มิ.ย. 2564 08:14:18 น. เข้าชม 166461 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
องค์กรครูคาใจหวั่นโครงสร้างศธ.รวบอำนาจ "single comand"
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
องค์กรครูคาใจหวั่นโครงสร้างศธ.รวบอำนาจ "single comand"
กลุ่มเครือข่ายองค์กรครูทั่วประเทศ คาใจ ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.. ประเด็นโครงสร้างศธ.ไม่ให้คณะกรรมการกฤษฏีความพิจารณา หวั่นโครงสร้างรวบอำนาจที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ย้ำเขตพื้นที่ยังสำคัญ

กลุ่มเครือข่ายองค์กรครูทั่วประเทศ คาใจ ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.. ประเด็นโครงสร้างศธ.ไม่ให้คณะกรรมการกฤษฏีความพิจารณา หวั่นโครงสร้างรวบอำนาจที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ย้ำเขตพื้นที่ยังสำคัญ


เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.นายธนชน มุทาพร ประธานชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ให้ใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง และเปลียนตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา รวมถึงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้น โดยเรื่องดังกล่าวกลุ่มเครือข่ายองค์กรครูทั่วประเทศยังมีข้อสงสัยในประเด็นที่สาเหตุใดสภาการศึกษา (สกศ.) ถึงไม่นำเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างศธ. เพื่อรองรับการกระจายอำนาจไปให้สำนักงานกฤษฎีกาแก้ไขแต่อย่างใด  ซึ่งองค์กรครูทั่วประเทศต่างไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างการรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งในมาตรา  106 ที่ให้อำนาจปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชา  การให้อำนาจศธ.ชี้นำแทรกแซงรัฐสภาในการออกกฎหมายระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และสาระบัญญัติของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่มีมาตราใดที่กล่าวถึงหน่วยงานการศึกษาระดับจังหวัดและเขตพื้นที่การศึกษาแต่อย่างใด  แต่กลับกล่าวถึงผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีอำนาจจัดการประชุมประธานคณะกรรมการสถานศึกษา  แทนที่จะเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานการศึกษาในระดับจังหวัดโดยตรงเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้


นายธนชน กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวจึงเป็นที่คลางแคลงใจอย่างยิ่งว่าโครงสร้างของศธ.ในระดับจังหวัดหรือเขตพื้นที่การศึกษาจะมีหรือไม่ หรือจะให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มอบอำนาจการบังคับบัญชาครูให้ผู้ว่าราชการจังหวัด  เพื่อให้เกิดการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จเข้าสู่โครงสร้างอำนาจนิยมมากยิ่งขึ้น  ซึ่งโครงสร้างอำนาจลักษณะดังกล่าวนี้เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจให้สถานศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะเป็นการบริหารแบบ  single comand  ซึ่งไม่เหมาะกับกระทรวงศึกษาธิการ  ที่เป็นกระทรวงสร้างคนให้มีปัญญา มีความเป็นอิสระสร้างสรร โดยไม่ควรใช้อำนาจใดมากดทับความคิด และความอิสระของหน่วยงานการศึกษาทุกระดับ


"ผมมองว่าการมีหน่วยงานการศึกษาในระดับพื้นที่  โดยเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษายังมีความจำเป็น เพราะจะเป็นโซ่ข้อกลางคอยประสานส่งเสริม สนับสนุน  และติดตามการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งในมาตรา  88 และมาตรา  93 ทีบัญญัติถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ  และอำนาจหน้าที่  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางอย่างชัดเจน ที่คณะกรรมการฯรับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ต่างๆ  ตั้งแต่ไม้จิ้มฟัน ยันเรือรบ  โดยไม่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปมีส่วนร่วมแต่อย่างใด ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ใหม่ด้วยความรอบคอบ"นายธนชน กล่าว 


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2564 




☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook