เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป » กวดวิชาเข้าสอบเข้า ป.1ราคาเหยียบแสน ร้อง "ยกเลิกสอบเข้า ป.1"

กวดวิชาเข้าสอบเข้า ป.1ราคาเหยียบแสน ร้อง "ยกเลิกสอบเข้า ป.1"

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 10 ม.ค. 2561 02:15:32 น. เข้าชม 166500 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
กวดวิชาเข้าสอบเข้า ป.1ราคาเหยียบแสน ร้อง "ยกเลิกสอบเข้า ป.1"
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
กวดวิชาเข้าสอบเข้า ป.1ราคาเหยียบแสน ร้อง "ยกเลิกสอบเข้า ป.1"
กวดวิชาเข้าสอบเข้า ป.1ราคาเหยียบแสน ร้อง "ยกเลิกสอบเข้า ป.1"

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ด้วยค่านิยมที่อยากให้ลูกหลานเข้า “โรงเรียนระดับทอป” ตั้งแต่วัยกระเตาะ เป็นช่องทางให้สถาบันกวดวิชาต่างๆ เปิดหลักสูตรพิเศษ “ติวเข้มเด็กเล็กสอบเข้า ป.1” แม้ราคาสูงเหยียบแสนแต่พ่อแม่ผู้ปกครองต่างยอมจ่ายโดยดุษฎี ขณะเดียวกันก็มีข้อเรียกร้องให้ “ยกเลิกสอบเข้า ป.1” เนื่องจากลดทอนจิตนาการและกระตุ้นให้เด็กเกิดความเครียด


ทั้งนี้ จะเห็นว่า การลงทุนทางการศึกษา ติวเข้า ป.1เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย นัยหนึ่งเป็นการปูทางสร้างอนาคตแก่ลูกหลาน จึงไม่แปลกที่มีสถาบันกวดวิชาฟันน้ำนมผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด เพราะธุรกิจการศึกษามีเงินสะพัดมหาศาล




บทเรียนสำคัญ ประเด็น เด็กอนุบาล 3ติวสอบเข้า ป.1 กลับกลายเป็นเรื่องทุกข์ถนัดด้วยเกิดเหตุไม่คาดคิด ดังเช่น กรณีสถาบันกวดวิชาชื่อดังระดับอนุบาลเตรียมสอบเข้า ป.1 ใช้กำลังควบคุมพฤติกรรมทำร้ายร่างกายเด็กเล็ก จนเป็นข่าวใหญ่โตเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน 

เหตุการณ์ในครั้งนั้น แม่ของเด็กอนุบาลรายหนึ่งออกมาเปิดเผยว่า ครูใช้อุปกรณ์ตีลูกของตน วัย 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 และกำลังจะสอบเข้า ป.1 จนเป็นรอยช้ำตามร่างกาย แต่ที่ยอมอยู่หลายเดือนเพราะเชื่อมั่นว่าสถานบันแห่งนี้จะทำให้ลูกสอบติด ป. 1 โรงเรียนสาธิตได้

เป็นสถาบันในเครือสาธิตที่มีชื่อเสียงด้านการปรับพฤติกรรมเด็กเล็ก เตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ทำข้อสอบทำแบบฝึกหัด จึงส่งลูกเข้าเรียนตั้งแต่ปี 2559 โดยเสียค่าเรียนทั้งหมด 54,000 เพื่อปรับสภาพสร้างความคุ้นชินให้กับเด็ก และปี 2560 จึงลงเรียนอีกเป็นครั้งที่ 2 เพราะรู้สึกเชื่อมั่นว่าทางสถาบันสอนดีทำให้เด็กๆ จำนวนมากสอบติดโรงเรียนสาธิตได้ ซึ่งปีนี้ราคาค่าเรียนปรับขึ้นเป็น 160,000 บาท จากเดิม 92,000 บาท เรียน 300 ชั่วโมง 

โดยหนึ่งในวิธีการสอนการปรับพฤติกรรมเด็กเล็กคือ การตี ซึ่งเด็กหลายคนถูกตีแต่ไม่หนักแบบลูกของเธอ จึงเป็นเหตุให้เข้าแจ้งความดำเนินคดีสถาบันดังกล่าว สู่การตรวจสอบใบอนุญาติตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน 2557 หากพบว่าไม่มีการเสียภาษี จะมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท

แต่คำถามสำคัญคือระบบการศึกษาปฐมวัย โดยเฉพาะเด็กอนุบาล 3 เด็กเล็กในช่วงวัย 5 - 6 ขวบ การที่ต้องเข้าโรงเรียนกวดวิชามันหนักเกินไปสำหรับเด็กเหล่านี้หรือไม่ 

และเด็กเล็กจำเป็นต้องถูกเคี่ยวกรำสู่การแข่งขันในระบบการศึกษอย่างเคร่งเครียด มากว่าเรียนรู้อย่างสนุกสนานตามวัย หรือ ค่อยๆ เสริมสร้างพัฒนาตามธรรมชาติอย่างนั้นใช่หรือไม่ 

สำหรับเรื่องการสอบเข้า ป.1 ของเด็กอนุบาล 3 ถูกหยิบยกขึ้นพิจารณาครั้งสำคัญ เมื่อไม่นานมานี้ คณะอนุกรรมการเด็กเล็กมีข้อเสนอ “ยกเลิกสอบเข้า ป.1” เพราะการแข่งขันของเด็กเล็กจะส่งผลพัฒนาการทางสมอง และไม่อยากให้เด็กเกิดความเครียด

รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ประธานคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก ในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระเพื่อปฎิรูปการศึกษา ว่า คณะอนุกรรมการเด็กเล็กเสนอประเด็นการพัฒนาเด็กเล็กให้คณะกรรมการอิสระฯ ใจความตอนหนึ่งความว่า

“...ไม่อยากให้มีการสอบเข้าเรียนชั้น ป.1 เพราะไม่อยากให้มีการแข่งขันจนเด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อสมองของเด็กในวัยนี้...” 

โดยรายละเอียดเผยว่า คณะอนุกรรมการเด็กและนักวิชาการทางด้านปฐมวัย ทุกคนเห็นตรงกันว่าสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำเป็นต้องปรับหลักสูตรปฐมวัย เปลี่ยนแนวคิดวางรากฐานการสอนเด็กปฐมวัยกันใหม่ให้มีรากฐานที่มั่นคงในการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต เนื่องด้วยเด็กช่วงวัย 0 - 8 ขวบ จะเป็นช่วงที่สมองเติบโตเร็วที่สุด สอนง่ายและพร้อมรับการเรียนรู้ที่เหมาะสม 

“...เด็กประถมวัยคือตั้งแต่อนุบาล1 -ป.3 การเรียนการสอนที่ถูกต้องควรเน้นให้เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมตามสมรรถนะตามวัยของเขา เน้นการเรียนให้สนุก เรียนรู้กับธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เป็นการเรียนรู้วิชาการตามสมรรถนะของวัย ที่เตรียมความพร้อม ให้อ่านออกเขียนได้เพื่อให้สามารถเรียนต่อได้ในชั้นที่สูงขึ้น 

“ และจริงๆ แล้วการที่เด็กสอบเข้าป.1 ไม่ได้ไม่ได้หมายความว่าเด็กคนนั้นโง่เสมอไป เพราะโรงเรียนบางแห่งเน้นด้านวิชาการแต่เด็กยังไม่มีความพร้อมก็อาจจะสอบไม่ได้ หรือเรียนมาทางด้านเตรียมความพร้อมตามสมรรถนะก็อาจจะสอบไม่ได้เช่นกัน แต่ในระยะยาวอาจจะเรียนได้ดีและประสบผลสำเร็จในชีวิตก็ได้...” รศ.ดร.ดารณี กล่าวผ่านสื่อฯ

และการให้เด็กเรียนความรู้ทางวิชาการที่มากเกินไปในชั้น ป.1 นั้น ไม่เป็นผลดี รศ.ดร.ดารณี อธิบายในประเด็นนี้ ความว่า เป็นการสร้างแรงกดดันที่มากเกินไป ทุกวันนี้มีเด็ก ป.1 ที่ไม่พร้อมจะเรียนจำนวนมาก ทั้งๆ ที่เด็กเหล่านี้มีสติปัญญาที่ดี เราจึงเห็นเด็กจำนวนมากไม่มีความสุขเมื่อมาเรียน ป.1 ทำให้มีผลต่อสภาพจิตใจของเด็ก และลดทอนความสามารถของตัวเด็กเอง ทำให้ขาดความมั่นใจ

รศ.ดร.ดารณี กล่าวต่อไปว่า เด็กในวัยนี้พร้อมจะทำตามสิ่งที่พ่อแม่และครูบอก พวกเขาจะว่านอนสอนง่ายเพราะเป็นวัยที่ต้องการเป็นที่รัก การที่พ่อแม่ตั้งความหวังกับเด็กพาไปติวสอบเข้า ป.1 โดยหวังจะได้เข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง แต่เด็กๆ ไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร เพราะเขารู้แต่เพียงว่าอยากทำให้พ่อแม่ เพราะฉะนั้น เมื่อสอบไม่ผ่านก็จะเกิดความรู้สึกผิดหวัง ทั้งที่อาจจะมีศักยภาพที่เก่งกว่าเด็กที่เรียนดีก็ได้ เมื่อเด็กมีความสุขเด็กจะเก่งเอง พวกเขาต้องรู้วิธีการแก้ปัญหาให้กับตัวเอง รู้จักคิดกับเรื่องง่ายๆ พ่อแม่ไม่ควรไปตีกรอบทุกเรื่อง 

ข้อเท็จจริงประการหนึ่ง เด็กไทยเรียนหนักแต่ยังขาดทักษะนำมาใช้ชีวิตจริง ซึ่งทางยูเนสโกเคยจัดอันดับประเทศเรียนหนักที่สุดในโลก ปรากฎว่าคุณภาพการศึกษาประเทศไทยนั้นสวนทางกับชั่วโมงเรียนสูงปรี๊ด นับเฉพาะเวลาเรียนในโรงเรียนไม่รวมเวลาเรียนพิเศษนอกเวลา จำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีของนักเรียนไทยระดับอายุ 9 - 13 ปี พบว่า นักเรียนไทยรั้งอับดับ 1 และอัน 2 เฉลี่ย 1,080 - 1,200 ชั่วโมงต่อปี ขณะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีชั่วโมงเรียนน้อยกว่าเด็กไทย เช่น จีน, ญี่ปุ่น ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย มีการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันวางรากฐานแก่อนาคตของชาติอย่างมั่นคง

สุดท้าย ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดถึงบทสรุปของการในเรื่อง “ยกเลิกสอบเข้า ป. 1” จะมีผลประกาศใช้อย่างเป็นทางการหรือไม่อย่างไร และด้วยความที่การแข่งขันสูง บวกกับความต้องการให้ลูกหลานเข้า “โรงเรียนระดับทอป” เรื่องของ “แป๊ะเจี๊ยะ” คงเป็นปัญหาหนักอกที่พ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องกลับมานั่งคิดนอนคิดกันว่า “เท่าไหร่ถึงจะพอ”

Credit  mgronline


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook