เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » คู่มือครู » สอนภาษาไทยอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ ผมได้ทำแบบสำรวจสภาพปัญหาและสาเหตุการจัดการเรียน

สอนภาษาไทยอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ ผมได้ทำแบบสำรวจสภาพปัญหาและสาเหตุการจัดการเรียน

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 17 ส.ค. 2560 01:47:17 น. เข้าชม 166469 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
สอนภาษาไทยอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ ผมได้ทำแบบสำรวจสภาพปัญหาและสาเหตุการจัดการเรียน
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : คู่มือครู ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
สอนภาษาไทยอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ ผมได้ทำแบบสำรวจสภาพปัญหาและสาเหตุการจัดการเรียน
สอนภาษาไทยอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ ผมได้ทำแบบสำรวจสภาพปัญหาและสาเหตุการจัดการเรียน

สอนภาษาไทยอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ

ความเป็นมา

ผมเขียนบทความนี้ครั้งแรก  จัดทำเป็น Power point  สำหรับบรรยายให้กับคณะครูเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดตาก เขต ๒  เมื่อปี ๒๕๕๐  โดยเผอิญไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนแห่งหนึ่ง   แล้วไปเห็นบนกระดานดำ ครูเขียนคำว่า "ป้า" ไว้ ผมลองเขียนคำใหม่ว่า "ม้า"  นักเรียนทุกคนตอบว่ายังไม่ได้เรียน  อ่านไม่ได้   ผมลองให้นักเรียนสะกดคำ  นักเรียนก็สะกดได้และอ่านเป็นคำได้   ผอ.ที่ไปด้วยจึงชวนผมมาชี้แนะปัญหา และสะกิดครูให้ตระหนัก และใส่ใจกับเรื่องนี้

 

แต่ก่อนที่จะไปกระตุ้นครู   ผมได้ทำแบบสำรวจสภาพปัญหาและสาเหตุการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยกับครูผู้สอน  และนักเรียนจำนวนหนึ่ง    ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากประจักษ์พยานต่อสายตาและหูผู้บริหาร  ที่ผมได้ทดสอบนักเรียน  และสอบถามครูด้วยวาจา  พบว่า การที่ครูสอนภาษาไทยไม่ได้ผล  เพราะครูส่วนมากสอนให้นักเรียนอ่านตามหนังสือแบบเรียน   โดยครูไม่มีหลักการ/ขั้นตอนการสอนที่เป็นไปตามกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ 

 

ไม่ว่าจะเป็นการสอนเรื่องการจับใจความ  ครูก็มักสั่งให้นักเรียนอ่านข้อความที่กำหนดให้  แล้วจับใจความเลย  ทั้งๆที่ยังไม่ได้ฝึกตามลำดับขั้นตอนแต่อย่างใด,  การเขียนเรียงความก็สั่งให้เขียน ๑ หน้ากระดาษ ๓ ย่อหน้า โดยที่ยังไม่ได้ฝึกกระบวนการขั้นตอนการเขียนเรียงความใดๆ  โดยเฉพาะการวางโครงเรื่อง(Plot) ซึ่งถือเป็นหัวใจของการเขียนเรียงความ ผมยังไม่เคยเห็นครูโรงเรียนไหนฝึกนักเรียนให้ประจักษ์สายตาแต่อย่างใด  เวลาตรวจก็อาศัยการเปรียบเทียบว่าใครสำนวนดีกว่ากัน ก็ให้คะแนนคนนั้นสูงหน่อย  ไม่มีหลักการหรือเกณฑ์ใดๆ  ที่ร้ายกว่านั้นกลับไปเห็นว่าการเขียนตามจินตนาการ คือ การเขียนเรียงความ  ใครจินตนาการดีให้คะแนนสูงมากทีเดียว

ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเฉพาะโรงเรียนในเขตนี้เท่านั้น  จากการที่ผมเป็นผู้ประเมินภายนอกโรงเรียน  ได้ไปประเมินโรงเรียนทั่วประเทศไม่น้อยกว่า ๒๐๐ โรง  พบว่า  เป็นไปทำนองนี้ทุกโรงเรียน

 

ผมจึงถ่ายทอดจาก Power point มาเป็นเอกสารธรรมดา  เผื่อมีผู้สนใจ  ลองนำไปปฏิบัติตาม     แต่ที่จริงที่ผมเขียนขึ้น  ก็ไม่ได้แปลกไปจากการที่วิทยากร  หรือ ศน.แต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการประชุมอบรมให้ความรู้แก่ครูเป็นประจำ   รวมทั้งเอกสารตำราหลักการสอนภาษาไทยในระดับมหาวิทยาลัย  หรือคู่มือหลักสูตรภาษาไทย  ของกระทรวงศึกษาธิการแต่อย่างใด  ผู้ใฝ่รู้สามารถไปค้นคว้าดูได้    

 

แต่ผมสงสัยว่า  เป็นเพราะเหตุใด  ทำไมครูตามโรงเรียนต่างๆ  จึงไม่ตระหนักเห็นคุณค่า นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจังเป็นระบบ  ฝึกนักเรียนอย่างมีขั้นตอนในการสอนสักที    น่าคิดนะครับ ว่าเป็นความรับผิดชอบของใคร   แต่ในทัศนะผมถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้อำนวยการโรงเรียน   ตามบทความที่ผมเขียน "ตัวการที่ทำให้การศึกษาไทยล้มเหลวและไร้ประสิทธิภาพ" ไว้

 

ส่วนมากผู้บริหารโรงเรียนที่ผมประสบพบปะ  ไม่ค่อยมีภาวะผู้นำทางวิชาการเท่าใด  ตรวจแผนการสอนครูก็ไม่ได้เป็นกิจลักษณะ  เซ็นรับรองอย่างเดียว   ให้คำแนะนำหรือความรู้ในการสอนก็ไม่ค่อยจะมี  ไม่ค่อยมีบทบาทในการกำกับ ติดตามการทำงานของครูให้เป็นระบบเท่าใด  แต่ชอบเป็นผู้อำนวยการกันนัก   รับผิดชอบกันหน่อยครับ  เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเยอะมาก    แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออกมาไม่ถึงครึ่ง  

 

ถ้าผู้บริหาร และครูช่วยกันทำให้การสอนทุกวิชาสอนตามหลักการ/ขั้นตอนที่เป็นไปตามกระบวนการเรียนรู้  หรือจิตวิทยาการเรียนรู้ทุกเรื่องที่จัดให้นักเรียนเรียน  ผลของการเรียนรู้จะได้คุณภาพมาตรฐานเกินครึ่งแน่นอน 

 

.................................

แนะนำพื้นฐานการเรียนภาษา

 

การสื่อสาร  เป็นธรรมชาติของสัตว์สิ่งมีชีวิต

การเรียนรู้ภาษา  เป็นพื้นฐานชีวิตของมนุษย์  Language-based  Learning

  • เพราะภาษาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างจิตใจกับวิถีชีวิตมนุษย์  และมนุษย์กับมนุษย์ 
  • เพราะมีภาษาจึงสามารถสื่อสารความรู้สึก  ความนึกคิด  ความต้องการได้ดี 
  • เพราะมีภาษาจึงสามารถถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์ให้แก่กันและกัน  สังคมและโลกจึงพัฒนามาได้อย่างก้าวกระโดด

………………………

ภาษาแห่งการเรียนรู้

เสียง - ทำนอง เป็นธรรมชาติการสื่อสาร(ภาษา)ของสรรพสัตว์

แต่....ถ้อยคำ และระดับของภาษาเป็นวิวัฒนาการของมนุษย์  ที่สัตว์ไม่มี

  • ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์
  • ภาษาจะไม่เกิดขึ้น  ถ้าปราศจากประสบการณ์
  • แต่ประสบการณ์จะไม่เกิดการรับรู้ได้  ถ้าไม่ใช้ภาษา
  • การอ่านเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทักษะทางภาษาชั้นสูง

...................................

ทำไมต้องมาอบรม  มาประชุมเพื่อพัฒนาการสอนภาษา

  • เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน  ให้นักเรียนรู้และใช้ภาษาสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เพื่อแปลงสิ่งที่ได้จากประสบการณ์ในการฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นการเรียนรู้ 
  • เพื่อพัฒนานักเรียนให้ใฝ่รู้  กระตือรือร้นในการเรียนรู้ผ่านโลกหนังสือ
  • เพื่อช่วยนักเรียนเปิดโลกกว้าง หรือต่อยอดความสามารถทางการศึกษา และวิถีชีวิต

.................................

สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในปัจจุบัน

  มีปัญหาซึ่งยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า (จริงๆไม่กล้าสรุปให้สังคมรู้  ทั้งๆที่รู้ความจริง)  ทำไมเด็กทุกวันนี้จึงอ่อนภาษาไทย (อ่านไม่คล่อง  เขียนไม่คล่อง  อ่านผิด  พูดผิด  เขียนไม่ได้เรื่อง)  ทั้งนี้เป็นเพราะ

  • ใช่สาเหตุที่ว่ากระทรวงเปลี่ยนหลักสูตรหนังสือแบบเรียนภาษาไทยบ่อยหรือไม่
  • หรือเป็นเพราะว่ากระทรวงศึกษาธิการบังคับให้ครูสอนอ่านเป็นคำ เป็นประโยค  ไม่ยอมให้สอนแบบสะกดคำผันเสียงเหมือนในอดีตหรือไม่
  • หรือเป็นเพราะว่าเด็กสมัยนี้ไม่สนใจอ่านหนังสือ มัวแต่ไปดูโทรทัศน์  ภาษาที่ดีๆจึงแย่ลง
  • หรือเป็นเพราะว่าครูสอนภาษาไทยไม่เข้าใจ(ไม่มี)หลักการ  กระบวนการ  ขั้นตอนที่ดีในการสอนภาษาไทยกันแน่
  • ผู้อ่านตอบเอาเองแบบใดก็ได้  แต่ในทัศนะของผู้เขียนปัญหาส่วนมากเกิดจากสาเหตุข้อสุดท้าย

................................

ครูภาษาไทยที่ดี

  • แม่นหลักสูตร  (รู้จุดมุ่งหมาย  ขอบเขตเนื้อหา ธรรมชาติวิชาการสอนภาษาไทย)
  • รู้หลักการ รู้ขั้นตอนกระบวนการฝึก การสอนภาษา
  • รอบรู้เรื่องราว และวรรณกรรมอดีตทั้งเก่า และใหม่ 
  • ร่ำรวยภาษา  (ทั้งไวพจน์ ระดับภาษา ที่มาของภาษา และยิ่งถ้ารู้คำในภาษาทุกชาติยิ่งดี)
  • มีนิทาน มุขขำขัน(การเล่นคำ ใช้คำ) มาเล่าทุกวัน
  • น้ำเสียงมีชีวิตชีวา และได้รสชาติในการอ่าน การเล่า และการสอน

.......................................

คุณลักษณะของการเรียนรู้ทางภาษา

- ต้องช่วยพัฒนา

  • ทักษะชีวิต
  • ทักษะกระบวนการ
  • ทักษะสังคม

- ต้องช่วยกระตุ้น

  • ทัศนคติเชิงบวก
  • ความคิดรวบยอด (มโนทัศน์ – ภาพพจน์ – ภาพลักษณ์) 

.................................

เราสามารถยกระดับการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพได้โดย....

- วิเคราะห์สาเหตุให้ได้ว่าทำไมนักเรียนจึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยไม่ถึงครึ่ง  

- ทำไมนักเรียนรุ่นหลังๆ  ใช้ภาษาที่ผิดพลาด  ไม่ถูกต้อง  ฟุ่มเฟือย  ทำให้ไม่เข้าใจ  หรือเข้าใจผิดในการสื่อสาร ต่อกัน  ตีความคำพูดผิด

- หาให้ได้ว่าปัญหาการสอนภาษาที่ได้ผลสำเร็จน้อยนั้น  แท้จริงอยู่ที่ใด  ใครเป็นผู้ควรรับผิดชอบ

  • หลักสูตร, หนังสือแบบเรียน
  • โรงเรียน, ครู, กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ่อแม่, ผู้ปกครอง
  • นักเรียน
  • สังคม, สื่อมวลชน

     ครู และสังคมต้องช่วยกันทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และความสามารถในการใช้ภาษาอย่างแท้จริง 

............................

ถ้าทำได้  นักเรียนจะเปลี่ยน...

  • จากภาษาใจ สู่ ภาษาพูดและภาษาเขียน  ที่สะท้อนความคิด  ความรู้สึก ความต้องการของตัวเองได้ชัดเจน
  • จากการฟังและการพูดตามใจฉัน  เป็น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพรับผิดชอบ
  • จากการที่ได้แต่ความรู้เนื้อหาเรื่องราว  เป็นความเข้าใจในกระบวนการใช้ภาษา  และสามารถใช้ภาษาได้ดี
  • จากการมัวแต่รอพึ่งผู้อื่นให้ เช่น ครู  เป็น  การเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองจากเข้าใจภาษาได้ดีขึ้น
  • จากการท่องจำและทำซ้ำๆ เป็น การค้นพบ และพัฒนาภาษา
  • จากรอทำตามคำสั่ง เป็น อยากเรียนด้วยตนเอง

..............................

การเรียนรู้ภาษาที่ควรจะเป็น     ครูต้องยกระดับการสอนภาษาให้ได้  ๓  ระดับ     

๑. ฟังได้  พูดได้   อ่านได้   เขียนได้

๒. ฟังเป็น  พูดเป็น  อ่านเป็น  เขียนเป็น

๓. ฟังได้ดี  พูดได้ดี  อ่านได้ดี  เขียนได้ดี

.................................

ฟังได้  พูดได้ : เป็นพื้นฐานของคนทั่วไป

อ่านได้  เขียนได้  : เป็นพื้นฐานชีวิตของสังคมมนุษย์

อ่านได้

- แจกลูกได้  สะกดคำได้  ประสมคำได้

- อ่านเป็นคำ  เป็นวลีได้

เขียนได้

- เขียนเป็นตัวอักษรได้  เขียนตามคำบอกได้

- เขียนสะกดเป็นตัวได้  ประสมเป็นคำได้

.........

 

พูดเป็น  ฟังเป็น  อ่านเป็น  เขียนเป็น :  แสดงว่ามีทักษะทางภาษา

อ่านเป็น

- อ่านเป็นกลุ่มคำได้  เป็นประโยคได้  เป็นข้อความได้

- อ่านเป็นเรื่องราวได้

เขียนเป็น

- เขียนเป็นประโยคได้  เป็นข้อความได้

- เขียนเล่าเป็นเรื่องราวได้

พูดเป็น

- พูดชี้แจงได้

- พูดเล่าเรื่องราวได้ 

ฟังเป็น

- ฟังแล้วคิดสะกิดใจ

- ฟังแล้วเข้าใจเรื่องราวที่ได้ยิน

.............

 

ฟังได้ดี  พูดได้ดี  อ่านได้ดี  เขียนได้ดี  : แสดงว่าเก่งภาษา, มีความสามารถในการใช้ภาษาได้ดี

ฟังได้ดี   

- เข้าใจความคิด  ความรู้สึก  ความต้องการของผู้พูด

- เข้าใจนิสัย  จิตใจของผู้พูดได้

- เชื่อมโยงสิ่งที่ฟังได้

พูดได้ดี 

- อธิบายได้ชัดเจน  เข้าใจง่าย

- รู้จักพูดซักถามจนได้ข้อมูล ข้อเท็จจริง

- พูดจูงใจได้  โน้มน้าวใจได้  ให้กำลังใจได้  สร้างความประทับใจได้

อ่านได้ดี

- อ่านได้เร็ว 

   - ต้องฝึกหัดอ่านในใจ  เพราะอ่านใจเป็นหัวใจของของการอ่านเพื่อพัฒนาความรู้

- อ่านเอาเรื่อง 

  - เข้าใจความนัยเรื่องที่อ่าน

  - ใช้ประโยชน์จากเรื่องที่อ่าน

  - เชื่อมโยงสิ่งที่อ่านได้

- อ่านออกเสียง

  - อ่านให้ได้จังหวะ  ตามวรรค  ตามประโยค  ตามบริบทเรื่องราว

  - อ่านถูกต้อง  เสียงอักขระชัดเจน มีท่วงทำนอง  เน้นเสียงภาษาตามรูปถ้อยคำ  มีพลังเสียง 

  - อ่านให้ได้ทั้งอรรถรส  ธรรมชาติภาษา  ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก  ความนึกคิด  ความต้องการที่ตั้งใจสื่อสาร 

    จึงจะเห็นความไพเราะทางภาษา

เขียนได้ดี

   - สรุปย่อให้กะทัดรัดได้

   - เขียนเรียบเรียงเรื่องราวได้

   - เขียนจูงใจได้  โน้มน้าวใจได้  ให้กำลังใจได

   - ถ้าเขียนจนชวนให้เคลิบเคลิ้ม หวานใจ  ตายใจได้  ถือว่าเยี่ยม

 

.......... 

 

รายละเอียดการสอนแต่ละประเภท  ผมแยกออกเป็นเรื่องๆไว้แล้ว

 

คำส่งท้าย  :   ทั้งหมดที่ผมเขียนมา ไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่จากที่ตัวเองพัฒนาการสอนภาษาไทยมาตลอด ตั้งแต่เป็นครูปี พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นต้นมา การสอนที่ฝึกนักเรียนตามขั้นตอนการเรียนรู้  จำนวนนักเรียนที่ทำคะแนนไม่ต่ำกว่าครึ่งเป็นเครื่องยืนยันผลสำเร็จ นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบไม่ว่าระดับประเทศ ระดับเขต ระดับจังหวัด ไม่เคยต่ำกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ และถ้าใช้การวางเงื่อนไขตามแนวทางการเรียนเพื่อรอบรู้ของบลูม ก็ไม่เคยต่ำกว่า ๖๐ เปอร์เซนต์ แต่บางโรงเรียนต้่องแอบทำนะครับ เพราะฝ่ายวิชาการบางโรงเรียน มักห้ามดำเนินการ อ้างว่าผิดระเบียบทางราชการต่างๆนาๆ แล้วแต่จะหาข้ออ้่าง ทั้งๆที่ระเบียบให้ครูคิดค้นพัฒนาการสอนใหม่ๆได้ ก็ไม่รู้ว่าในปัจจุบันหลายโรงเรียนยังเป็นอย่างนี้อยู่หรือเปล่า

 

 

แต่เป็นที่น่าละอาย เวลาตัวเองเป็นผู้บริหารเองบ้าง เป็นที่ปรึกษาโรงเรียนบ้าง สอนครูในมหาวิทยาลัยบ้าง กลับไม่สามารถผลักดันให้ครูส่วนใหญ่สอนอย่างมีหลักขั้นตอนตามนี้ได้เลย   เพราะครูส่วนมาก พอถูกบังคับให้สอนเป็นระบบ มีหลักมีขั้นตอนการสอน มักจะอึดอัดใจ พากันไประบายหรือร้องเรียนกับผู้บริหารระดับสูงกว่าทุกโรงเรียนไป  และผู้บริหารเหล่านั้นก็มักจะมาขอร้องให้เพลาๆลงหน่อย หนักเข้าผมก็เลยต้องปลง และทำใจ ถือว่าเป็นเวรกรรมของนักเรียนชุมชน/สังคมนั้นๆ ที่ทำให้ได้ครูและผู้บริหารเหล่านั้นมาทำงาน ที่ผมเลิกสอน เลิกประเมิน เลิกสนใจเข้าไปแก้ไขพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยอีก ก็เพราะเหตุนี้เองครับ ที่เห็นใจผู้บริหารโรงเรียนก็ส่วนนี้อีกเช่นกันครับ

 

แต่ผมก็อยากเห็น ฝันว่าคนรุ่นหลัง คงเก่งกว่าผม สามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ได้ในที่สุด

 

เอาใจช่วยครับ

ขอบคุณที่มา : GotoKnow โดย  ใน การฝึกฝนนักเรียน การจัดการเรียนรู้


อ่านต่อ http://www.kruupdate.com/news/newid-3347.html


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ คู่มือครู


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : คู่มือครู

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook